สมมุตินะครับสมมุติ
นาย ก เอารถไปเปลี่ยนเครื่องที่อู่ นาย ข พร้อมทั้งให้นาย ข รับผิดชอบหาคนจูนเครื่องให้ คือ นาย ค
แต่นาย ก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจูนด้วย
หลังที่รถทำเสร็จ นาย ก รับรถออกจากอู่ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ระยะทางที่ใช้ไปประมาณ 1000 กิโล
ท่อยางของระบบน้ำหล่อเย็นก็แตกขณะที่กำลังขับรถ เป็นเหตุให้ความร้อนขึ้นสูง
แต่ยังไม่ถึงขั้น over heat เนื่องเกจ์วัดอุณหภูมืน้ำร้องเตือน และดับเครื่องได้ทัน
จากนั้นนาย ก จึงนำรถกลับไปที่อู่ นาย ข หลังจากที่ นาย ข เช็คเครื่องก็แจ้ง นาย ก ว่า ท่อน้ำแตกเนื่องจากอายุการใช้งาน
พร้องทั้งเช็คระบบน้ำหล่อเย็นให้ใหม่ และแนะนำว่า ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ เนื่องจากอาจจะเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนสูงได้
นาย ก ที่เกิดคำถามขึ้นในใจว่า ตอนเอารถมาเปลี่ยนเครื่อง ใช้เวลาเกือบ 2 เดือน ไม่ได้เช็คระบบต่างๆให้ดีก่อนที่จะส่งมอบรถหรอ?
เพราะตอนเอารถเข้ามาเปลี่ยนเครื่องก็ไม่ได้มีการแจ้งว่า ควรเปลี่ยนท่อยางระบบน้ำหล่อเย็น เนื่องจะสภาพไม่ดีแล้ว
...
ขอถามทุกท่านว่า
1 . ค่าแรงในการเช็คระบบต่างๆใหม่ และค่าน้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็นใหม่ ควรเป็นความรับผิดชอบของ นาย ก หรือ นาย ข?
2 . ถ้าสมสมุติว่า นาย ก ดับเครื่องไม่ทัน เครื่องพัง นาย ก หรือ นาย ข ควรเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมเครื่องทั้งหมด
...
หลังจากนำรถออกจากอู่อีกครั้ง นาย ก ถึงมีโอกาสได้ใช้รถอย่างจริงๆจัง และพบว่า รถมีอาการวิ่งสะดุด ที่บางรอบเครื่อง
จึงโทรแจ้งอาการดังกล่าวให้นาย ข รับทราบ นาย ข ก็แนะนำว่าให้ลองใช้ไปสักระยะก่อน
นาย ก จึงยังทดลองใช้รถไปอีกประมาณ 6000 กิโล เวลาประมาณ 6 เดือน อาการสะดุดก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่
จึงนำรถกลับไปให้ นาย ข เช็คอีก นาย ข จึง เรียกจูนเนอร์ คือ นาย ค กลับมาเช็คอีกครั้ง นาย ค ก็แจ้ง นาย ข ว่า
ปัญหาการสะดุดน่าจะมาจากหัวฉีด ให้ นาย ข ลองเช็คดู นาย ข จึงถอดหัวฉีดออกมาล้างและ เช็คดูใหม่
ในขณะเดียวกัน นาย ข ก็ลองเปลี่ยน เพลาขับ ยาง เพื่อลองหาสาเหตุอื่นดูด้วย
จากนั้น นาย ข ก็หาจูนเนอร์คนใหม่ คือ นาย ง มาจูนเครื่องให้ใหม่ทั้งหมด เมื่อจูนเสร็จ นาย ข ก็เรียก นาย ก มาทดสอบรถอีกครั้ง
หลังจากทดลองระยะสั้นๆ...ปรากฎว่า ไม่มีอาการสะดุดของเครื่องแล้ว จึงใส่ ยาง และ เพลาขับของเดิมคืน เครื่องก็ไม่มีอาการสะดุด
จึงพอจะสรุปได้ว่า ปัญหาน่าจะเกิดจาก หัวฉีดสกปรก และ/หรือ สามารถของจูนเนอร์
ส่วนระยะยาวยังไม่ทราบว่าอาการดังกล่าวจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่
...
ขอถามทุกท่านว่า
- ค่าใช้จ่ายจูนเครื่องของจูนเนอร์คนที่ 2 คือ นาย ง นาย ข (เจ้าของอู่) ควรเป็นคนรับผิดชอบทั้งหมด
เพราะ นาย ข เป็นคนเลือก นาย ค มาจูนเครื่องแล้วเกิดอาการสะดุด จนต้องเลือก นาย ง มาจูนเครื่องแทน
หรือ นาย ก (เจ้าของรถ) ควรเป็นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในจูนเครื่องของ นาย ง ทั้งหมด
หรือ นาย ก และ นาย ข ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายกันคนละครึ่ง
...
ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นครับ