สาเหตุหลักที่เกิดข้อบกพร่องทำให้ผู้ใช้รถต้องเข้ารับการบริการตั้งศูนย์ถ่วงล้อและซ่อมช่วงล่าง คือ
1. ศูนย์ล้อตั้งไม่ดี
2. ยางหมดสภาพการใช้งาน
3. ช่วงล่างมีปัญหาจากอายุการใช้งาน เช่นลูกยางต่างๆ โช๊คอัพไม่ดีเสื่อมสภาพรวมทั้ง ระบบเบรค ถ้าไม่ดีก็อาจส่งผล ถึงระบบช่วงล่างด้วย
4. จากคนใช้รถเองที่คิดมากโดยจับผิดจากอาการของรถยนต์ เช่นกินซ้าย หรือขวามากไป ทั้งที่ศูนย์ถ่วงล้อยังดีอยู่
5. ประการ สำคัญก่อนที่จะนำรถเข้าตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เจ้าของรถควร ซ่อมระบบช่วงล่างให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เสียก่อน เพราะเรื่องนี้มีผลมากสำหรับการตั้งศูนย์ฯ ว่าจะได้ผลดีหรือไม่ [/color]
มุมล้อ
ส่วนคำถามที่ว่าระยะเวลาการตั้งศูนย์ล้อจำ เป็นหรือไม่ที่ต้องตั้งกันบ่อยๆ ก็ขอบอกกันอย่างเปิดอกว่าศูนย์ล้อ คือระบบมุม ต่างๆ ที่ ควบคุมการเลี้ยว การเคลื่อนตัวของรถยนต์เป็นมุมทางเลขาคณิต มุมต่างๆที่ตั้งกันอยู่ก็มีมุมโท -อิน โท-เอ้าท์ ซึ่งลักษณะของ มุมโท คือถ้าเรายืนให้ลักษณะขาของเราห่างกันพอประมาณแล้วมองลงไปที่ปลายเท้าของเรา ถ้าบิดเข้ามาหากันเรียกว่าโท-อิน แต่ถ้าแยก ปลายเท้าออกจากกันเรียกว่าโท-เอ้าท์ แต่ถ้าไม่เอียงเข้าหรืออก อยู่ในลักษณะตรงเรียกว่ามุมโทเป็นศูนย์ มุมแคมเบอร์ คือมุมที่มองจาก แนวดิ่ง ถ้าด้านบนหุบเข้าไปในตัวรถมาก เช่นพวกรถซิ่งล้อแบะ จะเรียกว่าแคมเบอร์ลบ ถ้าเป็นแนวดิ่งตรงๆเลยเรียกว่า มุมแคม เบอร์ เป็นศูนย์เช่นกัน มุมแคสเตอร์คือ สังเกตจากตะเกียบรถจักรยานจะชี้ไปข้างหน้า เรียกแคสเตอร์บวก ถ้าเข้ามาเลยแฮนด์จะเป็นลบถ้า ตะเกียบตรงเป็นแนวดิ่งตั้งฉากกับถนน มุมแคสเตอร์นั้นก็คือศูนย์
ความสำคัญของทั้งสามมุมนี้ เท่ากันหมด ถ้าเราจะไปกำหนดว่า เมื่อไหร่ ควรจะเข้ามาเช็คศูนย์ล้อตรงนี้ เราต้องรู้ว่ารถเรามีสิ่งผิดปกติอย่างไรบ้าง เช่น ถ้ามุมโทไม่ดีจะสังเกตได้เมื่อเวลาเราเลี้ยวมันจะมีเสียงดังผิดปกติ ซึ่งจะ เป็น เสียงยางเสียดสีกับถนน หรือ หน้ายางเกิดอาการสึกผิดปกติ ยกตัวอย่าง ถ้า โท-อิน บกพร่องมากเกินไป ก็หมายถึงล้อด้านหน้าหุบ ล้อหลังจะบานออก แทนที่ล้อหลัง จะหมุนตรงๆกลับหมุนแบบไถๆ เวลาเราเอามือลูบจากด้าน นอกของยางลูบเข้าไปด้านในดอกยางจะเรียบไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าเราเอามือ ลูบออกดอกยางมันจะสากบาดมือเรา และถ้าโท-เอ้าท์มากไป ก็ตรวจสอบ ในทางกลับกัน ตรงนี้สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ ถ้ามุม แคมเบอร์เสีย อาการของดอกยางก็จะสึกไปแถบหนึ่งเหมือนกัน ถ้าแคมเบอร์ลบมาก ยางด้านในก็จะสึกมากแต่ถ้าลูบดูจะไม่บาดมือ หรือ ถ้าลูบดูจะไม่บาดมือ หรือถ้าแคมเบอร์บวกมากก็จะสึกด้านนอกส่วนมุมแคสเตอร์ ผิด แล้วผิดเหมือนๆกันทั้งสองข้าง การสังเกตจาก หน้ายางจะไม่ค่อยเห็นเด่นชัดมากเท่าใดนัก แต่เราจะรู้สึกตอนขับขี่ทั้งทางตรง และขณะเลี้ยวจะมีปัญหา ช่างส่วนใหญ่เมื่อเห็นว่า บกพร่องช่างก็จะพยายามตั้งให้สองมุมนี้ไม่เท่ากันด้วยเหตุผลที่ว่าบ้านเรา ใช้ พวงมาลัยขวา ถนนเอียงลง ซ้าย ก็ตั้งซ้ายให้มาก เพื่อดึง ขวาเล็ก น้อย ซึ่งไม่ ถูกต้อง เนื่องจากจะส่งผลให้ลักษณะของยาง ล้อคู่หน้าเมื่อสัมผัส กับถนน ซ้ายขวา จะไม่ เท่ากัน อาการรถจะวูบวาบช่วง ขึ้น ลงสะพาน หรือวิ่งบน ถนนเป็นคลื่น จะสังเกตได้ชัดเจน แถมยังส่งผลให้ มุม โท-เอ้าท์ ออนเทอร์น หรือมุม 20 องศา คือ องศา ของมุมเลี้ยวที่บวกลบ ไม่เกิน 2/30 จะมีปัญหา ด้วยช่วงเวลา เข้าโค้งจะอันตรายมาก เพราะล้อหน้า ทั้งสองข้าง เลี้ยวไม่ เท่ากัน เหมือน เข้า โค้งไม่พอ ไม่เข้าหรือเข้ามากเกินไป ที่เขาเรียกว่า โอเวอร์สเตียร์ (Oversteer) กับอันเดอร์สเตียร์ (Understeer) นั่นเอง และเชื่อว่าผล ของ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก สาเหตุตรงนี้มาก เพียงแต่ ปัจจุบันไม่มีหน่วย งานใดนำไปพิสูจน์ เท่านั้น
ประเด็นสำคัญเมื่อท่านผู้ใช้รถจำเป็นต้องนำรถเข้าไปตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ เมื่อช่างซ่อมให้เสร็จเรียบร้อยแล้วขับรถออกมาจะเช็คได้อย่างไรว่าศูนย์ล้อของเราอยู่ในอาการที่ปกติ
- ต้องดูที่ความรู้สึกของตัวเราก่อนโดยเปรียบเทียบระหว่างช่วงที่มีปัญหาก่อนและหลังซ่อม
- ต้องหมั่นสังเกตอาการสึกของยาง เพราะบางครั้งผู้ใช้รถไม่ได้สังเกตอย่างสม่ำเสมอ เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าศูนย์ล้อของเรา อยู่ในสภาพปกติหรือไม่
- ช่วงเวลาซ่อมถ้าเป็นไปได้ ก็ควรที่จะถาม หรือพูดคุยกับช่าง ดูวิธีการที่เขาตั้งศูนย์ให้พร้อมกับเปรียบเทียบ ค่ามุมต่างๆกับสเปคมาตรฐานของรุ่นรถที่เราใช้อยู่ซึ่งข้อมูลตรงนี้ทุกอู่ต้องมี
- และที่เกี่ยวกับยางอีกอย่างก็คือ ชุดซ่อมยาง โดยเฉพาะ กับ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับแก้ม ยางฉีกขาดก็มีวิธีการแก้ไขให้ได้ โดยใช้เครื่องมือพิเศษ คือใช้แผ่นเรเยอร์เสริมเข้าไป บริเวณรอยฉีกขาดด้านใน เพื่อเสริม โครงสร้างยางให้แข็งแรงขึ้น ส่วนด้านนอกใช้วิธีการตัดแต่งแผลใหม่ ซึ่งถ้าจำเป็นบาง ครั้ง อาจจะต้องถึงขั้นเย็บกันเลยก็มี พร้อม กับนำ ยางดิบปิด ให้เรียบร้อยแล้วใช้ความร้อนประสานเนื้อยาง ตามที่กำหนด คือประมาณ 100-150 องศาเซลเซียส จุดประสงค์เพื่อถนอม ยางเส้นดังกล่าวให้กลับมามีสภาพ การใช้งานใกล้เคียง ของเดิม มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามวิธีแบบนี้ร้านทั่วไปเขาจะ ไม่นิยมทำกัน ที่นิยมทำกันก็จะเป็นรถบรรทุกใหญ่ รถบัส ส่วน รถเก๋งไม่อยากแนะนำให้ทำ เพราะทำแล้ว เจ้าของรถส่วน ใหญ่ก็ไม่สบายใจอยู่ดี เว้นเสียแต่แผลไม่ใหญ่ มากเกินไป ก็อาจจะทำให้ได้ ประกอบกับต้องดูอายุการใช้งาน ของ ยาง ด้วยถ้าเป็นยาง ใหม่แล้วเกิดแผลก็สมควรทำแต่ถ้ายางเก่าแล้ว แนะนำว่าเปลี่ยนยาง ไปเลยทีเดียวจะคุ้มและปลอดภัยกว่า ส่วนค่าบริการเย็บปะยางก็จะ อยู่ในราว 200-300 บาท/เส้น
สาเหตุการสึกผิดปกติ และสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
1. สึกเป็นบั้งๆโดยรอบบริเวณไหล่ยาว
- ลูกปืนล้อหลวม
- ลูกหมากคันชักส่งหลวม
- สลักล้อหลวม
- การสูบลมยางและน้ำหนักบรรทุกไม่เหมาะสม
- เพลาล้อไม่ได้ศูนย์
- ยางและกระทะล้อไม่สมดุล
- ใช้ดอกยาวไม่เหมาะสม
2. ยางสึกบริเวณไหล่ยางเพียงด้านเดียว (ลักษณะปลายดอกตวัดคล้ายขนนก)
- มุมล้อ (แคมเบอร์) ไม่ถูกต้อง
- มุมล้อ Toe-in หรือ Toe-out ไม่ถูกต้อง
- เลี้ยวมุมแคบบ่อยๆ
- เพลาล้อคดหรืองอ
3. ไหล่ยางทั้ง 2 ข้างสึกหรอผิดปกติสลับกัน หรือสึกเป็นจ้ำๆ
- มุมล้อ (แคมเบอร์) ไม่ถูกต้อง
- ลูกปืนล้อหลวม
- สลักล้อหลวม
- เพลาล้อไม่ได้ศูนย์
4. ยางสึกไปด้านเดียวคล้ายคมเลื่อย
- เลี้ยวมุมแคบบ่อยๆ
- มุมล้อ (แคมเบอร์) ไม่ถูกต้อง
- มุมล้อ (โทอิน) ไม่ถูกต้อง
- เพลาล้อคหรืองอ
- สูบลมยางอ่อนเกินไป
5. ยางสึกบริเวณครึ่งหนึ่งของยาง
- เพลาล้อไม่ได้ศูนย์
- กระทะล้อไม่กลม
6. ยางไม่กลม
- เพลาล้อคดหรืองอ
- ระยะเบรคไม่ดีหรือเบรครถกระทันหัน
- การถ่วงน้ำหนักไม่ดี
7. ยางสึกที่ไหล่ยางทั้ง 2 ข้าง
- สูบลมยางอ่อนเกินไป
- บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา
8. ยางสึกบริเวณกลางหน้ายาง
- สูบลมยางมากเกินไป
- ใช้กระทะล้อไม่เหมาะสมกับขนาดของยาง
- สึกหรอยางดอกที่ 2 และที่ 4
- สูบลมยางอ่อนเกินไป
- ศูนย์ล้อผิดพลาด