หลังจากสะพานเหล็กหลายแห่งทั่วกรุงเทพมหานครได้เปิดบริการยวดยานพาหนะให้คนกรุงมายาวนาน ย่อมเสื่อมสภาพและผุกร่อนลงไป ในที่สุดก็ถึงเวลาปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยมีการประชุมหารือกันที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกอบด้วย นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าฯ กทม. พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ที่รับผิดชอบงานจราจร ตัวแทนสำนักการโยธา กทม. ตัวแทนตำรวจท้องที่ ตัวแทนการประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวง
โดย กทม. เตรียมแผนปิดการจราจรเพื่อปรับปรุงซ่อมสะพาน 10 แห่งก่อน ประกอบด้วย
1. สะพานข้ามแยกรัชโยธิน
1-30 ก.ย. 52
30 วัน
2. สะพานข้ามแยกบางพลัด
15 ก.ย. - 15 ธ.ค. 52
90 วัน
3. สะพานข้ามแยกพงษ์เพชร
1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 52
90 วัน
4. สะพานข้ามแยกพระรามที่ 4
1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 52
90 วัน
5. สะพานข้ามแยกคลองตัน
1 ธ.ค. - 30 พ.ค. 53
180 วัน
6. สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง
1 ม.ค. - 30 มี.ค. 53
90 วัน
7. สะพานข้ามแยกเกษตร
1 เม.ย. - 30 เม.ย. 53
30 วัน
8. สะพานข้ามแยกสามเหลี่ยมดินแดง
1 เม.ย. - 30 เม.ย. 53
30 วัน
9. สะพานข้ามแยกประชานุ*ล
1 พ.ค. - 30 ก.ค. 53
90 วัน
10. สะพานข้ามแยกท่าพระ
1 พ.ค. - 30 ก.ค. 53
90 วัน
11. สะพาน ข้ามแยกพระราม 9-รามคำแหง
1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 52
90 วัน
12. สะพานพระราม 9-อสมท
1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 52
90 วัน
13. สะพานอโศก-เพชรบุรี (รื้อสร้างใหม่)
15 ก.ย. 52 - 15 มิ.ย. 53
300 วัน
ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่ง คือ สะพานข้ามแยกพระราม 9-รามคำแหง สะพานพระราม 9-อสมท สะพานอโศก-เพชรบุรี โดย 3 สะพานแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงโครงการ แอร์พอร์ตลิงก์ ที่กำลังก่อสร้าง รวมทั้งมีการซ่อมถนน โรคัลโรด กทม. จึงจำเป็นต้องชะลอการปรับปรุงไว้ก่อน รอให้โครงการต่างๆ เสร็จเรียบร้อยค่อยดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นตัวเลือกในการเลี่ยงเส้นทางเมื่อมีการซ่อมสะพาน คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือน ต.ค. โดยสะพานพระราม 9-อสมท และพระราม 9-รามคำแหง ทั้ง 3 แห่ง จะใช้เวลาปรับปรุงแห่งละ 90 วัน ส่วน สะพานอโศก-เพชรบุรี ก็ต้องรื้อสร้างใหม่ จะใช้เวลาประมาณ 10 เดือน การทำงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 งานตรวจสอบและประเมินสภาพโครงสร้างวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับการใช้เส้นทางจราจรให้สอดคล้อง กับปัจจุบัน ได้แก่
1. ปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้น
2. น้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่
3. ข้อกำหนดการต้านทานแรงแผ่นดินไหว
ส่วนที่ 2 งานปรับปรุงโครงสร้างสะพาน โดยมี ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ในส่วนของการจัดการจราจรแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. งานที่ดำเนินการได้ก่อนทำการปรับปรุงโครงสร้างสะพาน และไม่ต้องปิดจราจรหรือปิดจราจรชั่วคราว
2. งานปรับปรุงโครงสร้างสะพาน ที่ดำเนินการได้โดยต้องทำการปิดจราจร บนสะพาน ทิศทางละ 45 วัน
3. งานที่ต้องดำเนินการหลัง จากงานปรับปรุงโครงสร้างสะพานแล้ว เสร็จ โดยไม่ต้องปิดจราจรหรือปิดจราจรชั่วคราว
สิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการภายหลังทำการปรับปรุงโครงสร้างหลัก ได้แก่ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำบนสะพาน ปรับปรุงพื้นทางเท้าใต้สะพาน และปรับปรุงรั้วตาข่ายเชิงลาด เป็นต้น
เสร็จเมื่อไหร่รับรองคนกรุงได้ใช้รถใช้ถนนกันสบายใจเหมือนเดิมแน่นอน
ชาวSSSหลีกเลี่ยงกันให้ดีครับ วางแผนการเดินทางล่วงหน้าหน่อยจะได้ไม่เสียการเสียงานครับ รถคงติดกว่าเดิมสักหน่อยเพราะไม่ได้ปิดปรับปรุงในช่วงเดียวกันทั้งหมด แต่ก็สามารถทำให้การจราจรหนาแน่นกว่าเดิมได้เพราะมันติดสะสม โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ :P