องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุเมื่อ ก.พ.2020 ว่า ข้อห้ามการเดินทาง "มักใช้ไม่ได้ผล" ในการป้องกันเชื้อแพร่ระบาดเข้าไปในประเทศ และอาจส่งผลเสียรุนแรงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ในตอนนั้น WHO ระบุว่า "มาตรการที่จะเป็นการแทรกแซงอย่างยิ่งยวดต่อการจราจรระหว่างประเทศอาจมีความชอบธรรมในช่วงแรกของการเกิดโรคระบาด และอาจช่วยถ่วงเวลาให้ประเทศต่าง ๆ"
ผูุ้โดยสารที่ตกค้างอยู่ที่สนามบินโจฮันเนสเบิร์กกำลังพยายามหาเที่ยวบินออกจากแอฟริกาใต้
คำแนะนำดังกล่าวถูกวิจารณ์จากนายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น ที่กล่าวโทษว่า WHO ไม่สนับสนุนการตัดสินใจของเขาในการหยุดยั้งเที่ยวบินจากจีนที่มุ่งหน้าสู่อเมริกา และยุโรป
คำแนะนำนี้ยังถูกเพิกเฉยจากหลายชาติในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ และไต้หวัน ที่สั่งห้ามผู้เดินทางจากจีนเข้าประเทศตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ก่อนที่จะมีหลายชาติทั่วโลกใช้มาตรการคล้ายกันในเวลาต่อมา
นับตั้งแต่นั้น WHO ได้ปรับปรุงข้อแนะนำของตน และปัจจุบันได้แนะนำการบังคับใช้ข้อห้ามการเดินทางโดยประเมินจากฐานความเสี่ยง (risk-based approach)
WHO ระบุว่า การใช้ข้อห้ามในการเดินทางควรต้องมีขึ้นโดยพิจารณาจากระดับภูมิคุ้มกันของประชากร ไม่ว่าจะมาจากการฉีดวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหลังการติดเชื้อ รวมทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ และประสิทธิภาพของมาตรการต่าง ๆ เช่น การตรวจคัดกรองเชื้อ และการกักโรค
อย่างไรก็ตาม WHO ชี้ว่า "ประเทศที่...มีความกังวลว่าเชื้อกลายพันธุ์อาจเป็นภัยต่อผู้อื่น...ควรใช้วิธีการป้องกันไว้ก่อน และใช้ข้อจำกัดการเดินทางที่เข้มงวดขึ้น และมีกรอบเวลาที่จำกัด"
WHO ระบุว่า มาตรการเหล่านี้ควรใช้อย่าง "เหมาะสม"