ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ วิตกโอไมครอนถ่วงเศรษฐกิจ  (อ่าน 596 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0


ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันศุกร์ (3 ธ.ค.) แตะระดับต่ำสุดของวัน โดยถูกกดดันจากการที่ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงหลังเปิดตลาด และนักลงทุนวิตกว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 462.77 จุด ลดลง 2.67 จุด หรือ -0.57% และปรับตัวลง 0.3% ในสัปดาห์นี้

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,765.52 จุด ลดลง 30.23 จุด หรือ -0.44%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,169.98 จุด ลดลง 93.13 จุด หรือ -0.61% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,122.32 จุด ลดลง 6.89 จุด หรือ -0.10%

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังปรับตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์นี้จากความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโอไมครอนและแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

สหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่น่าผิดหวัง ซึ่งกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่าเฟดอาจพิจารณาชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ยังคงปรับตัวลง เนื่องจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง

ข้อมูลในสัปดาห์นี้บ่งชี้ว่า เงินเฟ้อในยุโรปพุ่งขึ้น โดยข้อมูลเงินเฟ้อของเยอรมนีแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี แต่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงมีจุดยืนว่าเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ในการประชุมในเดือนนี้ ECB อาจกำหนดนโยบายสำหรับช่วงระยะเวลาที่สั้น เมื่อพิจารณาจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น

ผลสำรวจของไอเอชเอส มาร์กิตบ่งชี้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจของยูโรโซนเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ย. แต่การดีดตัวขึ้นอาจเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์อ่อนแอลง และความวิตกเกี่ยวกับไวรัสโอไมครอนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น

หุ้นกลุ่มทรัพยากรปรับตัวลงมากที่สุดในตลาดยุโรป โดยร่วงลง 2.5% เนื่องจากราคาทองแดงและแร่เหล็กร่วงลง ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงตามหุ้นเทคโนฯ ของสหรัฐ

หุ้นน้ำมันเป็นกลุ่มเดียวที่ปรับตัวขึ้นสวนทางตลาด เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น หลังโอเปกพลัสระบุว่า พร้อมจะดำเนินการ หากความต้องการน้ำมันลดลง

หุ้นดาโซ เอวิเอชั่น พุ่ง 6.5% หลังฝรั่งเศสทำข้อตกลงขายเครื่องบินรบของราฟาลจำนวน 80 ลำให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนับเป็นยอดสั่งซื้อเครื่องบินรบครั้งใหญ่ที่สุด