สิ้นเดือนก็เหมือนสิ้นใจครับบางคนที่เงินเดือนออก 25 ก็แสดงความยินดีด้วยครับ แต่ผมนั้นออกอีกทีสิ้นเดือนเลย แต่จะให้กินแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจนกว่าเงินเดือนจะออกก็ดูไม่ดีนัก ไถหน้าโซเชียลไปมาก็เจอแต่คนไปกินชาบู หมูกระทะ จิ้มจุ่ม ยั่วน้ำลายกันไปอีก ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วเงินเรารักกันเข้าพอดี ขอกินชาบูซักมื้อรอเงินเดือนเข้ากันดีกว่าครับ แต่จะให้เดินดุ่ม ๆ ไปกินเลยคงไม่สมศักดิ์ศรี Mandala Analytics Team วันนี้ผมจึงขอนำเสนอร้านชาบูร้านเด็ดที่รับโครงการเราชนะ เรารักกัน และคนละครึ่ง ด้วย Social Listening Tool มาดูกันครับว่ามีร้านไหนบ้าง และแต่ละร้านมีทีเด็ดอยู่ที่อะไร
หัวใจสำคัญของ Social Listening Tool คือคีย์เวิร์ด
มีคนรู้จักหลายคนที่หันมาให้ความสนใจและใช้ Social Listening Tool กับองค์กรหรือธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น แต่ปัญหาสำคัญที่ผมมักจะถูกร้องขอให้ช่วยเหลือเสมอคือ การคิดคีย์เวิร์ด ครับ บ่อยครั้งหลายคนมักคิดไม่ออก ไม่มีไอเดีย หรือกระทั่งใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปมั่ว ๆ ทำให้ข้อมูลที่ออกมากว้างเกินไป เละเทะเกินไป หรือกระทั่งไม่สามารถใช้งานได้เลย ในบทความนี้ผมจะมาสอนเทคนิคนี้อีกครั้งครับ
การคิดคีย์เวิร์ดนั้นหลัก ๆ เราสามารถทำได้ 3 วิธีครับ
1. สนใจประเด็นใดก็ใส่ไปตรง ๆ เลย: วิธีนี้พูดอีกแบบก็คือคิดเอาเองเลยครับอย่างในบทความนี้ผมสนใจร้านชาบูที่เข้าร่วมโครงการของรัฐ ได้แก่ เราชนะ, เรารักกัน, คนละครึ่ง ผมก็ใส่คำว่า ชาบู + โครงการรัฐต่าง ๆ รวมถึงผมก็คิดไปอีกว่าในความเป็นจริงอาจจะมีคนพิมพ์คำว่าชาบูเป็นภาษาอังกฤษด้วย ผมเลยเผื่อภาษาอังกฤษเข้าไป ตามตัวอย่างจากภาพที่ผมยกมาเลยครับ ซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดที่ผมนำมาวิเคราะห์ในบทความนี้ด้วย นอกจากนี้ บางองค์กรหรือบริษัทที่มีการทำการตลาดออนไลน์ สามารถใส่แฮชแท๊ก (#) หรือคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญ กิจกรรม หรืออีเว้นท์ ก็ได้เช่นเดียวกันครับ
เรารักกัน และคนละครึ่ง : หาร้านเด็ดร้านโดนด้วย Social Listening Tools ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://mandalasystem.com/blog/th/150/social-listening-29032021