ผู้เขียน หัวข้อ: 'UAC - QTC' ดอดเจรจาพันธมิตร ผุดปั้ม EV Charging ปี65 เปิด 4 สถานี จ่อประเดิม 'แสมดำ' แห่งแรก  (อ่าน 448 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
บมจ.ยูเอซี โกล. (UAC) กอดคอ บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) ภายใต้ 'พีพีดับบลิวอี' (PPWE) ลุยเจรจา กลุ่มพันธมิตรตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เฟสแรก ปี2565 จำนวน 4 สถานี 12 หัวจ่าย ประกาศปักธงย่านแสมดำ แห่งแรก พร้อมต่อยอดอีกหลายเส้นทาง อาทิ เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก นครราชสีมา ฯลฯ

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกล. จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ EV Charging Station ภายหลังจากลงทุนร่วมกับ บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ซึ่งเป็นผู้ผลิตจัดจำหน่ายและให้บริการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อร่วมพัฒนาและลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ภายใต้ บริษัทร่วมทุน 'พีพีดับบลิวอี' (PPWE) ว่า ล่าสุดบริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจา ร่วมกับพันธมิตรที่ดำเนินธุรกิจให้บริการสถานีน้ำมันอยู่หลายราย ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และมีความพร้อมในการดำเนินการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ในรูปแบบชาร์จไฟแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC EV Quick Charger) ที่มีขนาดสูงสุดถึง 200 KW เฟสแรก จำนวน 4 สถานี 12 หัวจ่าย ภายใต้งบการลงทุน 15 ล้านบาท ในปี 2565 นี้

โดยบริษัทฯเตรียมดำเนินการในการให้บริการสถานีน้ำมันแห่งแรก ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ย่านแสมดำ และหลังจากนั้นจะขยายเส้นทางสถานีติดตั้งไปสู่เส้นทางเหนือและภาคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น โดยจะเริ่มต้นจากการติดตั้ง EV Charging Station ในสถานีบริการน้ำมันเป็นหลัก ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งเป้าภายในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า จะขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า ให้ครบ 50 สถานี หรือ 150 หัวจ่าย ครอบคลุมทั่วประเทศ

สำหรับเฟสแรก จะติดตั้งเครื่องชาร์จของ บริษัท คอสเทล จำกัด (COSTEL) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องชาร์จไฟฟ้าชั้นนำจากประเทศเกาหลีใต้ ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2559 และจะเน้นติดตั้งสถานีในพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด

'การลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เฟสแรก จำนวน 4 สถานี หรือ12 หัวจ่ายในครั้งนี้ เชื่อว่ารายได้ในระยะแรกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจากนโยบายการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นของภาครัฐแล้ว บริษัทฯ มองว่ารายได้จะสามารถขยับขึ้นในระยะยาวได้อย่างแน่นอน'

ด้านนายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง QTC และ UAC ในครั้งนี้เป็นการเสริมความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัท โดย UAC Energy บริษัทย่อยของ UAC ได้เป็นตัวแทนการจำหน่ายรายเดียวในประเทศไทย ของ EV Charger 'COSTEL' ซึ่งมีคุณภาพสูง จากประเทศเกาหลี รวมถึงยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจปิโตรเคมี ดังนั้นจึงมั่นใจว่าความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ ยิ่งตอกย้ำศักยภาพในด้านเทคโนโลยี (Product Technology) ด้านวิศวกรรม (Engineering) ด้านต้นทุน (Optimize cost) และการร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมันจะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงด้านพลังงานต่อไปในอนาคต

และในฐานะที่ QTC เป็นผู้ดำเนินธุรกิจในงานด้านรับเหมาระบบไฟฟ้า และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าชั้นนำของไทย บริษัทฯสามารถซัพพอร์ตด้านนวัตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการดำเนินการเพื่อติดตั้งในสถานีอัดประจุไฟฟ้า(EV Charging Station) ที่บริษัทฯลงทุนอยู่ในขณะนี้ จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของQTC จะทำให้รักษาระดับต้นทุนได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งการควบคุมประสิทธิภาพให้อยู่ในระดับมาตรฐานของการดำเนินการ EV Charging Station ได้อย่างลงตัว

อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงมีผลประมาณว่าในปี 2575 จะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าเปิดให้บริการสูงสุดถึง 12,000 สถานี ซึ่ง PPWE จะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ โดยมีแผนลงทุนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า 50 สถานี ผ่านรูปแบบการลงทุนต่างๆ อาทิ เช่าพื้นที่ Profit Sharing เป็นต้น รวมถึงการขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรด้านอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคตอีกด้วย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากประเด็นในข้างต้นแล้ว QTC ยังได้อานิสงส์จากการขยายตัวของสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์หลักสำคัญในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก ตั้งแต่ 160 KVA ไปจนถึงหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 2,000 KVA ดังนั้นจากปัจจัยในเชิงบวก จะทำให้เห็นว่าการขยายและต่อยอดในครั้งนี้ ยังเป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ