ผู้เขียน หัวข้อ: กลุ่ม KTIS เปิดปัจจัยหนุนปี 65 โตเด่นทุกสายธุรกิจ  (อ่าน 493 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
กลุ่ม KTIS เปิดปัจจัยหนุนปี 65 โตเด่นทุกสายธุรกิจ มั่นใจปริมาณอ้อยสูงตามคาด ความต้องการสินค้าพุ่งหลังโควิดคลี่คลาย

กลุ่ม KTIS มั่นใจผลผลิตอ้อยฤดูการผลิตปี 64/65 ทำได้ตามที่คาด คือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 20% ส่งผลดีกับทั้งสายธุรกิจน้ำตาล และสายธุรกิจชีวภาพ มั่นใจความต้องการน้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า และเยื่อกระดาษชานอ้อย จะดีกว่าปีก่อน ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ หลังโควิดคลี่คลาย อีกทั้งเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการผลิตบรรจุภัณฑ์ชานอ้อย กำลังการผลิต 3 ล้านชิ้นต่อวัน และโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ เฟส 1 หนุนผลการดำเนินงานรอบปี 2565 โตกว่าปี 2564 แน่นอน

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า จากการประเมินผลผลิตอ้อยของกลุ่ม KTIS สำหรับฤดูการผลิตปี 2564/2565 ซึ่งจะเข้า.บในปลายปีนี้ พบว่า ได้รับผลดีจากการที่มีปริมาณฝนมากกว่าปีก่อน โดยคาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 20% ตามที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกสายธุรกิจทั้งการผลิตและจำหน่ายน้ำตาล เอทานอล ไฟฟ้า และเยื่อกระดาษจากชานอ้อย ซึ่งจะมีวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น ทำให้ผลผลิตของทุกโรงงานเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ที่มากขึ้นกว่าปีก่อน

"ถ้าเราได้วัตถุดิบหลักคืออ้อยในปริมาณมากขึ้น รายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็จะดีขึ้นทั้งหมด ประกอบกับดีมานด์ที่สูงขึ้นหลังการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่ม KTIS ในปี 2565 ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสูงกว่าปี 2564 อย่างแน่นอน" นายประพันธ์กล่าว

นอกจากนี้ ในปี 2565 กลุ่ม KTIS จะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเยื่อชานอ้อย ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีเครื่องจักร 50 เครื่อง ที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จาน ชาม กล่อง ถาดหลุม เป็นต้น รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายหลอดชานอ้อยแบรนด์ cherr BY KTIS ที่ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี


ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS กล่าวด้วยว่า รายได้ที่จะเข้ามาเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งจะมาจากโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC) เฟส 1 ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท จีจีซี เคทิสไบโออินดัสเทรียล จำกัด หรือ GKBI บริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม KTIS และ GGC ซึ่งมีโรงงานผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อย กำลังการผลิต 6 แสนลิตรต่อวัน และโรงไฟฟ้า 3 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 85 เมกะวัตต์

นายสมชาย สุวจิตตานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม KTIS กล่าวว่า นอกจากปริมาณผลผลิตของทุกโรงงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว ราคาขายสินค้าในทุกกลุ่มก็คาดว่าจะยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังคงทรงตัวในระดับสูง และจะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนอีกด้วย เพราะสัดส่วนของน้ำตาลส่งออกสูงถึง 70-75% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนราคาเอทานอลก็น่าจะไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

"ในส่วนของเยื่อกระดาษชานอ้อยนั้น มีความต้องการสูง เพราะคุณสมบัติของเยื่อชานอ้อยที่นุ่ม ซึมซับได้ดี ทำให้ราคาเยื่อกระดาษชานอ้อยสูงกว่าเยื่อกระดาษจากเยื่อยูคาลิปตัส จึงเชื่อว่า ราคาขายจะยังคงดีอย่างต่อเนื่อง และอีกสายธุรกิจที่มีอัตรากำไรค่อนข้างสูงคือการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ก็คาดว่าจะมีรายได้ที่ดีเช่นกัน เพราะจะมีวัตถุดิบมากขึ้น จากเยื่อชานอ้อยที่มากกว่าปีก่อน" นายสมชายกล่าว