ผู้เขียน หัวข้อ: บลจ.ไทยพาณิชย์ จ่ายปันผลกองหุ้นยูเอส - หุ้นบิลเลียนแนร์ รวม 3 กองทุน  (อ่าน 487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • *
  • กระทู้: 929
  • Popular Vote : 0
บลจ.ไทยพาณิชย์ จ่ายปันผลกองหุ้นยูเอส - หุ้นบิลเลียนแนร์ รวม 3 กองทุน มองภาพรวมขยายตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อน COVID-19

นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมจ่ายเงินปันผลกองทุนหุ้นสหรัฐฯ จำนวน 3 กองทุนรวมมูลค่ากว่า 178 ล้านบาท โดยจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกันในวันที่ 24 ธ.ค. 2564 นี้ ประกอบด้วย

สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 2563 - 30 พ.ย. 2564 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (ชนิดเพื่อการออม) - SCBS&P500-SSF กำหนดจ่าย 0.5121 บาทต่อหน่วย โดยจ่ายระหว่างกาลแล้วเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 จำนวน 0.2401 บาท เหลือจ่ายงวดนี้ 0.2720 บาท (ครั้งที่ 2) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส - SCBS&P500 กำหนดจ่าย 1.2498 บาทต่อหน่วย จ่ายระหว่างกาลแล้วเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 จำนวน 0.3613 บาท เหลือจ่ายงวดนี้ 0.8885 บาท (ครั้งที่ 17) รวมจ่ายปันผล 5.2809 บาทต่อหน่วย(นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2555) โดยทั้ง 2 กองทุนเน้นลงทุนใน iShares Core S&P 500 ETF (กองทุนหลัก) บริหารโดย BlackRock Fund Advisors ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบ passive มีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี S&P500 และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

ส่วนอีก 1 กองทุน สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2564 - 30 พ.ย. 2564 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ บิลเลียนแนร์ - SCBBLN กำหนดจ่าย 0.1831 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 11) รวมจ่ายปันผลแล้ว 2.7108 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 24 ก.ค. 2558) นอกจากนี้ กองทุนยังจัดเป็นกองทุน 4 ดาว ประเภท Thailand Fund US Equity ของมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2564) มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งเน้นกระจายลงทุนในหุ้นเติบโตขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Solactive US Top Billionaire Investors

นายอาชวิณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีการขยายตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 จากภาพเศรษฐกิจโดยรวมและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญ 4 ปัจจัยหลัก คือ 1) จาก แผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพิ่มเติมของนายโจ ไบเดน ซึ่งมีวงเงินรวมกันกว่า 2.55 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศ 2) การบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเร่งตัวจากปริมาณเงินออมที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ ปี 2020 เป็นตัวมา 3) การกระจายวัคซีนที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ จะสามารถป้องกันความรุนแรงจากการติดเชื้อ COVID รวมถึงเชื้อกลายพันธ์ได้ดี ขณะที่บริษัทผลิตวัคซีนในสหรัฐฯ มีโอกาสพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงยาต้านไวรัสได้เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ และ 4) ความเสี่ยงจากการขึ้นภาษีนิติบุคคลก็หายไป ภายหลังข้อเสนอการปฏิรูปภาษีที่มีเพียง Foreign Tax และการพิจารณาเก็บภาษีจากคนรวยแทน ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีการคาดการณ์กำไรที่ดีขึ้นในปี 2022


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาได้แก่ การระบาดของสายพันธุ์ Omicron ที่กลับมาเป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนอีกครั้ง ซึ่งอาจเกิดการระบาดเป็นวงกว้างอาจทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นและทำให้รัฐบาลอาจกลับมาเข้มงวดอีกครั้ง รวมถึงการที่อัตราเฟ้อเงินที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง และตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เฟดประกาศเร่งลดสภาพคล่อง (QE Taper) เร็วกว่าเดิม และส่งสัญญาณจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้ากว่า 3 ครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงขึ้นได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ โทร. 02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย หรือ www.scbam.com สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click ได้ที่ https://scbam.info/3dEjSFD

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน