ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดเงินบาท: เปิด 32.72 อ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดจับตาสถานการณ์ยูเครนใกล้ชิด  (อ่าน 428 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • *
  • กระทู้: 1,059
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.72 อ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดจับตาสถานการณ์ยูเครนใกล้ชิด ให้กรอบ 32.60-32.80

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.72 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 32.52 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็ง ค่าเนื่องจากมีแรงซื้อจากนักลงทุนที่กังวลต่อสถานการณ์ยูเครนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น จากการที่นานาชาติดำเนินมาตรการคว่ำ บาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ขณะที่ประธานาธิบดีรัสเซียสั่งเตรียมพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์ขั้นสูงสุด

"บาทอ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ หลังนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์ยูเครนที่ยังไม่มีความแน่นอน จึงหันไปถือครองดอลลาร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้บาทอ่อนค่า ซึ่งต้องจับตาอย่างใกล้ชิด" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.60 - 32.80 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 0.43881% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.55139%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.76000 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.49 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 115.27 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1189 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1176 ดอลลาร์/ยูโรเยน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.531 บาท/
ดอลลาร์
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ม.ค.65 โดยในปี 65
คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัว 4.0-5.0%
สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำราคาอาหารพุ่งทั่วโลกรวมถึงไทย ส่งสัญญาณส่อเค้ารุนแรง ขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์
จนโรงงานหลายแห่งเริ่มหยุดไลน์การผลิต กระทบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่วประเทศ ส่งผลปริมาณเนื้อสัตว์ในตลาดลดลง ไม่สามารถส่งออก
อาหารได้ตามออเดอร์
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาด
โลกปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนการขนส่งสินค้านั้น
กระทรวงการคลังมีความกังวลเป็นอย่างมาก หากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนไปแตะที่ระดับราคา 120
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และรัฐบาลยังคงใช้นโยบายราคาน้ำมันดีเซลไว้ลิตรละไม่เกิน 30 บาทนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มเงินอุด
หนุน เพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เปิดเผยว่า S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อระยะ
ยาวสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินฮริฟเนียยูเครน (Ukrainian hryvnia) ของยูเครนลงสู่ B- จากอันดับ B โดยระบุถึง
ความเสี่ยงที่การบุกโจมตีของรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของยูเครน
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวม
หมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 5.2% ในเดือนม.ค.
เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2526 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1%
ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 62.8 ในเดือนก.พ.
จากระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 61.7
ตลาดจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วย
นโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันที่ 2-3 มี.ค. โดยอาจเป็นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการ
เงินต่อสาธารณะเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15-16 มี.ค.
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ข้อมูล PMI และ ISM ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขการ
จ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP เดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนม.ค.
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
นักลงทุนจะยังคงจับตาวิกฤตการณ์รัสเซียและยูเครนต่อไป ขณะที่มีรายงานว่ารัสเซียส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะเจรจากับ
ยูเครน