ผู้เขียน หัวข้อ: พาณิชย์แนะผู้ประกอบการผลิตสินค้าโปรตีนจากพืชป้อนตลาดโลก ชี้แนวโน้มสดใส  (อ่าน 414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจแนวโน้มตลาดอาหารสำหรับอนาคต เพื่อสร้างโอกาสในการผลิตและการส่งออกให้กับผู้ประกอบการไทย ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ที่เล็งเห็นว่าอาหารสำหรับอนาคตกำลังเป็นเทรนด์สำคัญของโลก หลายประเทศมีการวิจัย พัฒนา และเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อป้อนความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันโปรตีนจากพืช (Plant-Based food) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก หลายประเทศให้การสนับสนุนการผลิตสินค้าดังกล่าว ในส่วนของไทย ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ (Bio-Circular-Green economy : BCG) ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาสร้างจุดแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เป็นหนึ่งในเป้าหมาย เพราะไทยมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบจากการมีผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นรสชาติอาหาร หากผู้ประกอบการมีการวิจัย พัฒนา หรือได้รับการสนับสนุนด้านดังกล่าว เชื่อว่าสินค้าโปรตีนจากพืชของไทยจะสามารถพัฒนาและแข่งขันในระดับโลกได้ และส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้เพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ล่าสุดได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์สิงคโปร์ว่า รัฐบาลสิงคโปร์ให้การสนับสนุน และผลักดันการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรและการเพิ่มผลผลิตอย่างมาก โดยเทมาเส็กเป็นผู้นำระดมทุนมูลค่า 270 ล้านบาท ให้กับ Growthwell Foods เพื่อจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีแบบครบวงจร ที่มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาการผลิตเนื้อสัตว์และอาหารทะเลจากพืช และบริษัท Growthwell Foods สตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ได้เปิดตัวโรงงานผลิตโปรตีนจากพืชแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบขนาดใหญ่แห่งแรกของสิงคโปร์ ในพื้นที่อุตสาหกรรมด้าน อาหารนวัตกรรมของสิงคโปร์ JTC Food Hub @Senoko1

โรงงานดังกล่าวสามารถผลิตสินค้าอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based) ได้ 4,000 เมตริกตันต่อปี ซึ่งปริมาณดังกล่าวเพียงพอต่อความต้องการบริโภคโปรตีนของคนมากกว่า 100,000 คนต่อปี และคาดว่า ภายในต้นปี 65 ผลิตภัณฑ์ Plant-Based ของ Growthwell Foods อาทิ ปลาแซลมอนที่ทำจากบุก (Konjac) และนักเก็ตไก่ที่ทำจากถั่วลูกไก่ จะเริ่มวางจำหน่าย ภายใต้แบรนด์ Happiee! โดยราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์จะอยู่ที่ประมาณ 8 เหรียญสิงคโปร์ (197.12 บาท) ต่อโปรตีนจากพืชสำหรับ 2 มื้อ

ในส่วนของทูตพาณิชย์เนเธอร์แลนด์ รายงานว่า รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้หารือร่วมกับธนาคารดัตช์รายใหญ่ 8 แห่ง เพื่อออกนโยบายสนับสนุนการลงทุนให้กับธุรกิจนี้ โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์มุ่งหวังว่าการลงทุนครั้งนี้จะทำให้โปรตีนจากพืชเข้ามามีบทบาท และเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากเนื้อสัตว์มากขึ้น

ขณะเดียวกัน การเติบโตของตลาด Plant-based Meat ทำให้บริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์หลายรายซื้อกิจการและขยายกิจการ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้สามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคและการเติบโตของตลาด Plant-base Meat ได้มากขึ้น อาทิ บริษัท JBS ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ของบราซิลได้ซื้อกิจการมูลค่า 341 ล้านยูโร ของบริษัท Vivera ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ของเนเธอร์แลนด์ บริษัท Unilever ซื้อกิจการบริษัท De Vegertarische Slager ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ของเนเธอร์แลนด์ที่ มูลค่าประมาณ 30 ล้านยูโร

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ชื่อดังของสหรัฐฯ Beyond Meat เปิดโรงงานผลิตในเนเธอร์แลนด์ บริษัท Meatless Farm ของสหราชอาณาจักรได้ขยายกิจการที่เมือง Almere และบริษัท LiveKindly Collective ได้ซื้อกิจการบริษัท The Dutch Weed Burger ผู้ผลิตเบอร์เกอร์จากสาหร่ายของเนเธอร์แลนด์

ด้านทูตพาณิชย์เกาหลีใต้ รายงานถึงโอกาสในการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์จากพืช (Plant-based meat) เข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ เพราะเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากการเติบโตของผู้บริโภคที่เป็นมังสวิรัติ และผู้บริโภคที่ตระหนักในเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ สิทธิ์ของสัตว์ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ผลจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารทางเลือกจากพืชในเกาหลีใต้ ทำให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ได้ก้าวเข้ามาในตลาด ทั้งแฟรนไชส์ท้องถิ่นและแบรนด์อาหารระดับโลก ได้เริ่มวางขายเมนูจากพืชเช่น Burger King และ Lotteria ได้นำเสนอเบอร์เกอร์ที่ทำจากถั่ว แทนเนื้อสัตว์ ในขณะที่ Starbucks ได้เปิดตัวบราวนี่เต้าหู้และแซนด์วิชที่ใช้แฮมจากพืช และคาเฟ่ดังอย่าง Twosome ได้ร่วมมือกับ Beyond Meat เพื่อให้บริการแซนด์วิชเนื้อจากพืช เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทต่างๆ ที่ลงทุนเพื่อการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์จากพืช ซึ่งเป็นการผลิตเนื้อสัตว์ทางเลือกที่ผลิตจากเซลล์ในห้องปฏิบัติการ บริษัทอาหารสดของเกาหลีอย่าง Pulmuone ได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ BluNalu ของสหรัฐฯ ซึ่งพัฒนาเกี่ยวกับอาหารทะเลที่ทำจากเซลล์ดังกล่าว เพื่อให้ทันกับยุคสมัย และหลายบริษัทลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก เช่น Shinsegae Food ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนา (R&D) เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ทดแทนมาตั้งแต่ปี 59 มีเป้าหมายว่าจะต้องเข้าสู่ตลาดเนื้อสัตว์ทางเลือก

นายภูสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืช เป็นโอกาสใหม่ของ SMEs ทั่วโลก เนื่องจากเป็นเทรนด์อาหารสำหรับอนาคต ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเปิดใจทดลองสินค้าแบรนด์ใหม่ โดยข้อมูลของ Euromonitor และ Allied Market Research ระบุว่า ในปี 62 มูลค่าตลาด Plant-Based Food ทั่วโลกอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (4.8 แสนล้านบาท) และคาดว่าในปี 67 มูลค่าตลาดจะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (7.5 แสนล้านบาท) โดยเติบโตเฉลี่ย 10.5% ต่อปี

ขณะที่ตลาด Plant-Based Food ของไทย ในปี 62 มีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และคาดว่าในปี 67 มูลค่า ตลาดจะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท โดยเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี