ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งทะลุ 1.6%  (อ่าน 333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0


ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (3 ม.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค.

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.64% แตะที่ 96.2053 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.29 เยน จากระดับ 115.08 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9181 ฟรังก์ จากระดับ 0.9117 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2747 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2640 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1297 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1384 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.3483 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3533 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7190 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7270 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.6% เมื่อคืนนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 30 ปีทะลุระดับ 2% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคลายวิตกเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นเดือนที่เฟดยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนต.ค.

ทางด้านไอเอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 57.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในปี 2564 จากระดับ 58.3 ในเดือนพ.ย. โดยการร่วงลงของดัชนี PMI มีสาเหตุจากการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต รวมทั้งการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน

นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของในวันศุกร์นี้ ซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ก็อาจจะส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้