ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปภาพรวมปี 2564 กับอีกหนึ่งปีที่ท้าทายในตลาดอสังหาฯ  (อ่าน 416 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0


ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ได้สรุปเหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในปีนี้ในภาคธุรกิจต่าง ๆ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เมื่ออีกหนึ่งปีที่ท้าทายกำลังจะสิ้นสุดลง เป็นที่ชัดเจนว่าตลาดคอนโดมิเนียมในโซนกลางเมือง ชะลอการเปิดตัวลงอย่างมาก ในขณะที่ดีมานด์ของบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านตลาดค้าปลีกต้องเผชิญกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ในตลาดโรงแรม เราได้เห็นความคิดสร้างสรรค์ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โควิด สำหรับตลาดสำนักงานนั้นเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ผู้เช่าสำนักงานเปลี่ยนแปลงความต้องการในเรื่องพื้นที่และมีการย้ายทำเลที่ตั้ง

นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เผยว่า "นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ไม่ได้มีการเปิดตัวโครงการใหม่ติดต่อกันสองไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ แม้ว่าตลาดคอนโดมิเนียมในย่านมิดทาวน์และชานเมืองจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่อยู่บ้าง แต่ก็ยังน้อยกว่าระดับปกติ จำนวนยูนิตของคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวในช่วง 9 เดือนแรกของปีมีเพียง 11,760 ยูนิต ลดลง 72% จากปี 2562 และลดลง 37% จากปี 2563"

ผู้คนต้องการเพิ่มพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่หลากหลาย รวมถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีความหนาแน่นต่ำ ทำให้โครงการบ้านแนวราบได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการบางรายมีจำนวนบ้านพร้อมขายไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อ การพัฒนาโครงการใหม่และปรับการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อรายใหม่นั้นอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนที่จะเปิดตัว หรืออาจนานกว่านั้นหากผู้พัฒนาโครงการจำเป็นต้องซื้อที่ดินด้วย

ในตลาดค้าปลีก หากย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกลงมาสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นผลมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบทางการเงินในเชิงลบ รวมถึงการที่ธุรกิจหยุดชะงักและไม่มีสัญญาณที่แสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นในตลาด สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ค้าปลีกจำนวนมากต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง ดังนั้น เราจึงเห็นรูปแบบการค้าปลีกที่มีความยืดหยุ่นและขนาดเล็กลง เช่น ฟู้ดทรัค คลาวด์คิทเช่น และป๊อปอัป สโตร์ ได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ

ด้านตลาดโรงแรมนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดที่มีความสร้างสรรค์มากที่สุดในแง่ของการปรับให้เข้ากับมาตรการข้อจำกัดและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่มีการเปลี่ยนจากการเข้าสถานที่กักตัวทางเลือก (ASQ) ไปเป็นระบบเทสต์ แอนด์ โก (Test and Go) หรืออื่นๆที่จะต้องปรับตัวตามสถานการณ์โควิด เนื่องจากต้องเปลี่ยนไปเป็นตลาดที่พึ่งพานักท่องเที่ยวในประเทศเกือบทั้งหมด การเข้าพักแบบ Staycation โปรโมชั่นและแพ็คเกจสำหรับคนไทยถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการที่จะพยายามดึงอัตราการเข้าพักให้กลับมาดีขึ้น จากข้อมูลของ STR อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อวันจากห้องที่ขายได้จริง (ADR) ของโรงแรมในกรุงเทพฯ ลงไปต่ำกว่า 2,000 บาทเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่าทศวรรษเมื่อเดือนมีนาคม และเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน

"นอกจากนี้ ธุรกิจต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติมาเกือบสองปีแล้ว ทำให้ตลาดอาคารสำนักงานได้รับผลกระทบอย่างมากจากการลดขนาดพื้นที่และการย้ายพื้นที่ของผู้เช่าที่ถูกผลกระทบทางฌศรษฐกิจ ซึ่งมากกว่าปี 2563 ปริมาณการใช้พื้นที่สำนักงานใหม่ที่เปรียบเทียบในแต่ละปีนั้นติดลบเป็นระยะเวลาสามไตรมาสติดต่อกันในปีนี้ รวมติดลบ 80,026 ตารางเมตร และเราไม่ได้เห็นการตัวเลขติดลบเช่นนี้ในตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วิกฤตการเงินช่วงปี 2541"

"ในปี 2563 เราต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 อีกระลอกหนึ่งก่อนช่วงเทศกาลวันหยุดสิ้นปี ความกังวลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้กระตุ้นให้รัฐบาลและภาคธุรกิจต่างต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะตอบสนองต่อความไม่แน่นอนนี้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อจัดการกับสถานการณ์และทิศทางของตลาดที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ในครั้งนี้" นายรัฐวัฒน์ กล่าวสรุป