ผู้เขียน หัวข้อ: เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด  (อ่าน 387 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด-ลดถือครองสินทรัพย์ หวังสกัดเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนธ.ค.ในวันพุธ (5 ม.ค.) โดยระบุว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับลดการถือครองสินทรัพย์ทั้งหมดด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

"กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจ, ภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้อ ก็ถือเป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal Funds Rate) ในเวลาที่รวดเร็วขึ้น หรือรวดเร็วกว่าที่กรรมการเฟดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่กรรมการเฟดบางส่วนมองว่า เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่จะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลบัญชี (Balance Sheet) ของเฟดในทันทีหลังจากที่มีการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย" เฟดระบุในรายงานการประชุมประจำวันที่ 14-15 ธ.ค. 2564

รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า ในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเจ้าหน้าที่เฟด (Dot Plot) บ่งชี้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนมิ.ย. 2565 จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2566

รายงาน Dot Plot ยังระบุด้วยว่า เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานในเดือนก.ย.ที่ระบุว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2565 นอกจากนี้ รายงาน Dot Plot ยังระบุว่า เจ้าหน้าที่เฟดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 2 ครั้งทั้งในปี 2566 และ 2567

ภายหลังการประชุมเฟดในวันที่ 14-15 ธ.ค.เสร็จสิ้นลง คณะกรรมการเฟดประกาศว่าจะเพิ่มการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เป็นเดือนละ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่เดือนม.ค. 2565 โดยการปรับลดวงเงิน QE ของเฟดจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากเดิมเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะส่งผลให้เฟดยุติการทำ QE ในเดือนมี.ค. 2565

เฟดปรับนโยบายการเงินดังกล่าวหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วันว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 6.8% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี