ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิเคราะห์คาดศก.เอเชียปี 65 เผชิญความเสี่ยงจากโอมิครอน  (อ่าน 399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
นักวิเคราะห์คาดศก.เอเชียปี 65 เผชิญความเสี่ยงจากโอมิครอน,ศก.จีนชะลอตัว,เฟดขึ้นดบ.

นายคาร์ลอส คาซาโนวา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคาร UBP ของสวิตเซอร์แลนด์ ออกมาให้ความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชียจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลัก 3 ประการในปี 2565

"เราได้เห็นยอดผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่พุ่งสูงขึ้น และเราคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตช้าลงสู่ระดับ 5% และล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็ได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้" นายคาซาโนวากล่าวในรายการ "Squawk Box Asia" ของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี

นายคาซาโนวามองว่า แม้ว่าตลาดเกิดใหม่ของเอเชียจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวรุนแรงขึ้นหากเฟดใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน

ทั้งนี้ เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนธ.ค. โดยระบุว่า ตลาดแรงงานของสหรัฐอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับลดการถือครองสินทรัพย์ทั้งหมดด้วย โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

"กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจ, ภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้อ ก็ถือเป็นเรื่องเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (Federal Funds Rate) ในเวลาที่รวดเร็วขึ้น หรือรวดเร็วกว่าที่กรรมการเฟดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่กรรมการเฟดบางส่วนมองว่า เป็นเรื่องที่เหมาะสมที่จะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลบัญชี (Balance Sheet) ของเฟดในทันทีหลังจากที่มีการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย" เฟดระบุในรายงานการประชุมประจำวันที่ 14-15 ธ.ค. 2564

หากเฟดตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว อาจทำให้หลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ต้องเผชิญกับปัญหากระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศและค่าเงินอ่อนค่าอย่างรุนแรง ซึ่งบีบบังคับให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อปกป้องบัญชีทุนของตนเอง

"เราพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ที่ธนาคารกลางต่างมุ่งลดงบดุลควบคู่กับปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2565" นายคาซาโนวาระบุ พร้อมเสริมว่า สถานการณ์ดังกล่าวอาจยิ่งทำให้กระแสเงินทุนไหลออกจากเอเชียมากขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะเงินฝืด