ผู้เขียน หัวข้อ: กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.50-33.90 ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ  (อ่าน 423 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0

กลุ่มงานโกล.มาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-33.90 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 33.66 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายผันผวนในกรอบ 33.15-33.74 บาท/ ดอลลาร์ เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นหลังรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม ระบุว่าตลาดแรงงานที่ตึงตัวมากและภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจทำให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยเฟดประเมินว่าความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ Omicron อาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออีกทางหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดตื่นตระหนกต่อการประเมินของกรรมการเฟดบางรายซึ่งเห็นว่าอาจสมควรเริ่มลดขนาดของงบดุลของเฟด (Quantitative Tightening) ในอนาคตอันใกล้หลังจากที่เริ่มขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ สัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสะท้อนโอกาสราว 80% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมครั้งล่าสุด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 8,483 ล้านบาท และ 18,636 ล้านบาท ตามลำดับ

กลุ่มงานโกล.มาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า นักลงทุนจะให้ความสนใจกับข้อมูลเงินเฟ้อและยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมของสหรัฐฯ รวมถึงการไต่สวนประธานเฟดของคณะกรรมการสภาเรื่องการได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง อนึ่ง แม้รายงานล่าสุดบ่งชี้ว่าตำแหน่งจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่อัตราการว่างงานลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ที่ 3.9% และค่าจ้างเติบโตร้อนแรงกว่าคาด กรุงศรีมองว่าข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่ายังไม่มีสัญญาณว่าเงินเฟ้อจะแผ่วลงในเร็วๆ นี้ และเฟดจะยังคงเดินหน้าถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขึ้นดอกเบี้ย และดึงสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบ ในภาวะเช่นนี้ กรุงศรีประเมินว่าค่าเงินดอลลาร์จะได้แรงหนุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

สำหรับปัจจัยในประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลังเทศกาลปีใหม่ฉุดรั้งความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเงินเฟ้อเดือนธันวาคมต่ำกว่าคาด โดยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) เพิ่มขึ้น 2.17% y-o-y ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงานเพิ่มขึ้น 0.29% โดยเงินเฟ้อเดือนธันวาคมปรับขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากราคาน้ำมันขายปลีกที่ถูกจำกัดโดยมาตรการของรัฐ ทั้งนี้ ในปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.23% ขณะที่กระทรวงพาณิชย์คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 จะมีค่ากลางที่ 1.5%