ผู้เขียน หัวข้อ: ท่าฉางฯ วางเป้าดันกำลังผลิตไฟฟ้าทะลุ 200 MW ในปี 75  (อ่าน 442 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • *
  • กระทู้: 644
  • Popular Vote : 0
ท่าฉางฯ วางเป้าดันกำลังผลิตไฟฟ้าทะลุ 200 MW ในปี 75 รุกขยายทั้งไทย-ตปท.

นายศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ (TGE) กล่าวว่า บริษัทมีแผนขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหลากหลายยิ่งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จากปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าขยะชุมชน โดยมีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งรวมเป็นประมาณ 90 เมกะวัตต์ (MW) ในอีก 4 ปีข้างหน้า และเพิ่มเป็นกว่า 200 MW ภายในปี 75

ทั้งนี้ TGE ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 600 ล้านหุ้น เพื่อใช้ลงทุนก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า ชำระเงินกู้สถาบันการเงินและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ณ วันที่ 30 พ.ย.64 บริษัทมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 29.7 MW มาจากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เปิดดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 3 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้า TGE TPG และ TBP ใน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ปริมาณไฟฟ้าเสนอขายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตามสัญญาระยะยาวรวม 20.3 MW

TGE ยังมีโรงไฟฟ้าขยะชุมชนอีก 3 โครงการ ใน จ.สระแก้ว จ.ราชบุรี และ จ.ชุมพร ที่ได้รับเลือกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และอยู่ระหว่างพัฒนา กำลังการผลิตติดตั้งรวม 22 เมกะวัตต์ และปริมาณไฟฟ้าที่เสนอขายตามสัญญารวมประมาณ 16 MW คาดว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะออกระเบียบรับซื้อไฟฟ้าและทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายในไตรมาส 1/65 และเริ่ม COD ภายในปี 67 ทำให้บริษัท มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมเพิ่มเป็น 51.7 MW และมีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายกับ กฟภ.รวม 36.3 MW

นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนเติบโตในระยะยาวจากการเข้าประมูลโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนกับ อปท.อีก 4 โครงการ คาดว่าจะเปิดคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนในไตรมาส 1/65 และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายในปี 69

นายพงศ์นรินทร์ วนสุวรรณกุล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ TGE เปิดเผยว่า บริษัทวางเป้าหมายขยายการลงทุนเชิงรุกในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเห็นโอกาสจากความตื่นตัวด้าน Green Energy หรือพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ของโลก

บริษัทมีจุดแข็งจากการอยู่ในกลุ่มท่าฉางอุตสาหกรรมที่มีสวนปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในธุรกิจหลัก จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านการจัดหาทะลายปาล์มซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ผนวกเข้ากับจุดแข็งด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัย รองรับเชื้อเพลิงชีวมวลได้หลากหลายชนิด อาทิ ทะลายปาล์มเปล่า เส้นใยปาล์ม ไม้ชิพ รากไม้สับ ฯลฯ จึงมีต้นทุนการผลิตต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกัน

อีกทั้งยังสามารถเผาไหม้เชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้เป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าความชื้นสูงและค่าความร้อนต่ำ จึงทำให้โรงไฟฟ้าของบริษัทสามารถบริหารจัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เข้าใกล้รูปแบบมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Waste) ซึ่งช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมสอดคล้องกับนโยบายด้าน ESG ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สังคมและดำเนินธุรกิจภายใต้ธรรมาภิบาล ตลอดจนการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติ โดยภายใต้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โรงไฟฟ้าของบริษัทจึงไม่ปล่อยมลภาวะและของเสียสู่ชุมชน

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับชุมชนและสังคมโดยรอบ โดยการเปิดรับซื้อวัตถุดิบชีวมวลหลากหลายประเภทจากเกษตรกรโดยรอบ เพื่อเสริมสร้างรายได้และยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบแก่โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ อีกด้วย รวมถึงมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตควบคู่กับการเติบโตอย่างยั่งยืน

"โรงไฟฟ้าของเราถือว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ในเมกะเทรนด์ของโลก และสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ Power Development Plan (PDP) ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานชีวมวล, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังน้ำ, พลังงานจากขยะ ฯลฯ ให้มากยิ่งขึ้น บริษัทจึงมีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้น" นายพงศ์นรินทร์ กล่าว
นางรัชดา เกลียวปฏินนท์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ2 บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า TGE เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนชั้นนำที่มีจุดเด่นด้านเทคโนโลยีการผลิตการผลิตไฟฟ้าที่ทันสมัย การบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพจากความยืดหยุ่นด้านวัตถุดิบ และยังให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตไฟฟ้า วัตถุดิบ การปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความมั่นคงด้านการจัดหาวัตถุดิบชีวมวลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จากความได้เปรียบเทียบด้านทำเลที่ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่อยู่ในพื้นที่แหล่งเพาะปลูกปาล์มที่สำคัญ และการเป็นบริษัทในกลุ่มท่าฉางอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่