ผู้เขียน หัวข้อ: ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯ ธ.ค.เพิ่มทุกภาค  (อ่าน 417 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าฯ ธ.ค.เพิ่มทุกภาค หลังผ่อนคลายมาตรการ-ผู้ป่วยโควิดลดลง

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนธ.ค. 64 (TCC-CI) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 22-30 ธ.ค.64 โดยดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 37.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 28.1 ในเดือนพ.ย. 64

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีฯ อยู่ที่ 37.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 27.4 , ภาคกลาง ดัชนีฯ อยู่ที่ 38.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 28.7, ภาคตะวันออก ดัชนีฯ อยู่ที่ 41.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 32.2, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 37.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 28.3, ภาคเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 37.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 27.5 และภาคใต้ ดัชนีฯ อยู่ที่ 35.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 25.9

ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค มีดังนี้

1. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ผ่อนปรนมาตรการป้องกันโรคเพื่อให้ธุรกิจและประชาชนสามารถดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจได้ใกล้เคียงปกติ เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม

2. มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ Test&Go ที่ลดจำนวนวันกักตัวลง

3.คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 64 เป็น 0.9% จากเดิมที่คาดไว้ 0.7%

4. การฉีดวัคซีนของทั้งโลกทำให้สถานการณ์โควิดระดับโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการฉีดวัคซีนในประเทศเป็นรูปธรรมมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตรายวันลดลง

5. การส่งออกของไทยเดือน พ.ย.64 ขยายตัว 24.73%

6. ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้น และกำลังซื้อในต่างจังหวัดปรับตัวดีขึ้น

ขณะที่ปัจจัยลบ มาจาก 1. ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยโดยเฉพาะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน"

2. ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ

3. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

4. เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อย

5. ความกังวลเสถียรภาพทางการเมืองและสถานการณ์ทางด้านการเมือง ตลอดจนการชุมนุมทางการเมือง

6.ปัญหาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ หลังจากสหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานจากจีน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลก และอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทย

สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ มีดังนี้

1. มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 หลังจากเทศกาลวันหยุดยาว แต่ไม่ควรให้กระทบภาคธุรกิจเช่น การล็อกดาวน์หรือสั่งปิดดำเนินกิจการชั่วคราว

2. กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศ โดยการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจ

3. ดูแลเรื่องต้นทุนการผลิตที่เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการ

4. ควบคุมราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

5. มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาธุรกิจต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง

6. เร่งฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ให้กับประชาชน พร้อมกระตุ้นให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างทั่วถึง