ผู้เขียน หัวข้อ: อนุสรณ์ เตือนศก.ไทยอาจเกิดภาวะ Stagflation  (อ่าน 372 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • *
  • กระทู้: 861
  • Popular Vote : 0
อนุสรณ์ เตือนศก.ไทยอาจเกิดภาวะ Stagflation
« เมื่อ: มกราคม 17, 2022, 01:47:36 pm »
อนุสรณ์ เตือนศก.ไทยอาจเกิดภาวะ Stagflation ใน Q2/65 หลังเงินเฟ้อพุ่ง

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สัญญาณของการเกิดภาวะ Stagflation เริ่มชัดเจนขึ้น มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญภาวะ Stagflation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเติบโตต่ำ และเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เผชิญอยู่เวลานี้คือ รายได้ชะลอตัว หนี้สินท่วม ค่าครองชีพสูงขึ้น แถมยังว่างงาน หรือการทำงานอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเร่งดำเนินการนโยบายเข้มงวดทางการเงินเพิ่มขึ้น หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ เพราะช่องว่างการผลิต (Output Gap) ของเศรษฐกิจไทยยังติดลบค่อนข้างมาก มีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่จำนวนมาก

"การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย มีความจำเป็นต่อการประคับประคองการฟื้นตัวของการจ้างงาน และการกระเตื้องขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ" นายอนุสรณ์ ระบุ
ทั้งนี้ มองว่าอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เป็นปัญหาทางด้านอุปทานเป็นหลัก คือ ราคาพลังงานสูงขึ้น บาทอ่อนค่า และราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นจากภัยแล้งในพื้นที่เกษตร ขณะที่ก่อนหน้านี้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย สะท้อนความไม่สามารถในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และไม่มีลงทุนระบบชลประทานอย่างจริงจัง ล่าสุด เกิดโรคระบาดในหมูทำให้ซ้ำเติมสถานการณ์ ทำให้เนื้อหมูในตลาดลดลง ราคาแพงขึ้น แต่สิ่งนี้อาจเป็นโอกาสของสินค้าประเภทเนื้อที่ทำมาจากพืช (Plant-based Meat) หรืออาหารที่ทำมาจากพืช (Plant-based Food) และเนื้อสัตว์ที่สามารถทดแทนกันได้

ราคาสินค้าอุตสาหกรรมบางส่วนปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบ การชะงักงันระบบจัดส่งและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาบางส่วนเกิดจากการหยุดดำเนินการผลิตของโรงงาน เกิดการการชงักงันของระบบจัดส่งโลจิสติกส์ จากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดก่อนหน้านี้

นายอนุสรณ์ ประเมินว่า ภาวะ Stagflation ของเศรษฐกิจไทยอาจเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นหลังเดือนมีนาคม ไทยอาจเผชิญภัยแล้งรุนแรง ทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย และในบางพื้นที่ไม่มีการทำเกษตรเนื่องจากขาดน้ำ ราคาอาหารซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการคำนวณเงินเฟ้อจะพุ่งสูง หากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ไทยจะเกิด Stagflation แน่นอน ฉะนั้นต้องคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดโอมิครอนให้ได้ เพื่อไม่ให้มีการล็อกดาวน์ และสามารถกลับมาเปิดประเทศได้เต็มที่ ภาคการท่องเที่ยวจะได้กระเตื้องขึ้น

ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของ Excess Demand ใดๆ ในเศรษฐกิจภาคการผลิต อุปสงค์มวลรวมยังกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการทางการคลังกระตุ้นการบริโภคการใช้จ่าย ไม่ได้เกิดจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคครัวเรือนภาคธุรกิจมากนัก ภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นในตลาดการเงินโดยตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ขอเตือนให้ระมัดระวังฟองสบู่ และส่งผลลบต่อภาคการลงทุนและภาคการเงินได้

"ภาวะ Excess Supply ยังคงมีอยู่ในสินค้าส่วนใหญ่ ยกเว้นสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรบางตัวนั้น เกิดสถานการณ์ตรงกันข้าม คือ เกิด Supply Shocks เนื่องจากเกิดโรคระบาดหมู ทำให้ นื้อหมูราคาแพง พืชผักผลไม้แพงเนื่องจากหลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ลงทุนปรับปรุงระบบชลประทานน้อยมาก ราคาอาหารแพงแบบนี้ จึงไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิตแต่อย่างใด" นายอนุสรณ์ กล่าว
พร้อมระบุว่า การใช้มาตรการสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด หรือเอาเงินงบประมาณไปซื้อเนื้อหมูหรือพืชผลเกษตรแล้วเอาขายต่อให้ประชาชน เป็นการแก้ปัญหาเฉพาหน้า ช่วยบรรเทาปัญหาได้เล็กน้อยมาก และยังจะเกิดช่องทางของการทุจริตรั่วไหลจากการใช้งบประมาณ หรือเอื้อประโยชน์ให้คนในเครือข่ายของตัวเอง จึงไม่ใช่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นช่องทางในการหาประโยชน์จากนโยบายได้

วิธีการแก้ปัญหา คือ ควบคุมโรคระบาดให้ได้ และเพิ่มปริมาณเนื้อหมูเข้าสู่ตลาด หรือส่งเสริมสินค้าอื่นๆ ที่ใช้ทดแทนเนื้อหมูได้ เช่น Plant-based Food ขณะที่ Plant-based Food Plant สามารถสร้างโอกาสมากมายทั้งทางธุรกิจ และเรื่องของสุขภาพ ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย นอกจากจะทำให้สุขภาพและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นแล้ว ในแง่ธุรกิจยังสามารถขายผู้ป่วยหรือคนที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพได้ด้วย เพิ่มสมรรถนะร่างกาย มีโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า