ผู้เขียน หัวข้อ: ดอลล์อ่อน หลังสหรัฐเผยข้อมูลเศรษฐกิจซบเซา  (อ่าน 391 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • *
  • กระทู้: 769
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก:

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (13 ม.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2564

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.13% แตะที่ 94.7989 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 114.06 เยน จากระดับ 114.40 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9107 ฟรังก์ จากระดับ 0.9135 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2488 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2501 ดอลลาร์สหรัฐ

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1460 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1448 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.3718 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3711 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7288 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7290 ดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 23,000 ราย สู่ระดับ 230,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2564 และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 200,000 ราย

ส่วนกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต พุ่งขึ้น 9.7% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในเดือนพ.ย. 2553 แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 9.8% หลังจากดีดตัวขึ้น 9.6% ในเดือนพ.ย.

เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% หลังจากดีดตัวขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ย.

สำหรับดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.5% หลังจากดีดตัวขึ้น 0.7% ในเดือนพ.ย.

นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนธ.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน