ผู้เขียน หัวข้อ: การทดลอง RHH-001 ระยะที่สี่  (อ่าน 200 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
การทดลอง RHH-001 ระยะที่สี่
« เมื่อ: มกราคม 22, 2022, 10:42:27 PM »

การทดลองระยะที่สี่โดยเป็นการทดลองแบบสุ่ม ปกปิดทางเดียว ที่สองศูนย์การทดลอง เพื่อประเมินเรื่องความปลอดภัยและการสร้างภูมิคุ้มกันของการใช้วัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามแบบต่างชนิดกันไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีน mRNA (BNT162b2, Pfizer/BioNTech) หรือการใช้วัคซีนอะดีโนไวรัล recombinant (AD26.COV2-S, Janssen) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามแบบเป็นชนิดเดียวกันของ CoronaVac ในกลุ่มผู้ใหญ่ชาวบราซิลที่ได้รับวัคซีน CoronaVac จำนวนสองโดสไปเมื่อหกเดือนก่อนหน้า ในช่วงระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2564 มีผู้เข้าร่วม 1,240 คนในเซาเปาโล และซัลวาดอร์ ที่ได้รับการสุ่มให้ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 1,239 คนที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว

ผลลัพธ์หลักของการทดลองคือ การทดสอบที่แสดงความไม่ด้อยกว่าของระดับแอนติบอดี anti-spike IgG ที่ 28 วัน หลังได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามแบบต่างชนิดกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามแบบชนิดเดียวกัน

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกคิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 90 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์

ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า
แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca