ผู้เขียน หัวข้อ: บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจ่ายปันผล 12 กองทุน  (อ่าน 411 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจ่ายปันผล 12 กองทุน ทั้งหุ้นไทยและหุ้นเทศ จ่าย 20 และ 24 ม.ค. นี้ มองบวกหุ้นโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นไทยในครึ่งปีหลัง

นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลกองทุนหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ จำนวน 12 กองทุน รวมมูลค่ากว่า 390 ล้านบาท ประกอบด้วย

หุ้นไทย 11 กองทุน สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2564 - 31 ธ.ค. 2564 กำหนดจ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกันเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ได้แก่ SCBLT1 (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 28) รวมจ่ายปันผลแล้ว 6.3850 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 21 ต.ค. 2547) ทั้งนี้ กองทุนนี้จัดเป็นกองทุน 4 ดาว ประเภท Thailand Fund Equity Large-Cap ของมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2564), SCBLT1-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.20 บาทต่อหน่วย และ SCBLT1-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.70 บาทต่อหน่วย โดยทั้งสามกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี 70% และตราสารหนี้คุณภาพ 30%

SCBLT2-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.45 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 3) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.4250 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 21 ต.ค. 2547) กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ, SCBLT3-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.25 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 3) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.09 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 12 ต.ค. 2548) กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง, SCBLT4 (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 19) รวมจ่ายปันผลแล้ว 3.92 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 27 มิ.ย. 2550), SCBLT4-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 2.10 บาทต่อหน่วย และ SCBLT4-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.45 บาทต่อหน่วย โดยทั้งสามกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง และหุ้นต่างประเทศไม่เกิน 35%

SCBLTT (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 22) รวมจ่ายปันผลแล้ว 5.39 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 27 มิ.ย. 2550), SCBLTT-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.20 บาทต่อหน่วย และ SCBLTT-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.70 บาทต่อหน่วย ทั้งสามกองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง และหุ้นที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ

ส่วนกองทุนต่างประเทศ 1 กองทุนเป็นประเภทกองทุนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 - 31 ธ.ค. 2564 กำหนดจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 24 ม.ค. 2565 ได้แก่ SCBGPROP จ่ายในอัตรา 0.3709 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 12 ) รวมจ่ายปันผลแล้ว 2.1614 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 4 ต.ค. 2559) กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ BGF World Real Estate Securities (กองทุนหลัก) ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีสัดส่วนในสหรัฐฯ และในยุโรป

นายอาชวิณ กล่าวถึงภาพรวมตลาดว่า ถึงแม้ในปี 2565 ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะเผชิญแรงขายจากนักลงทุนซึ่งเกิดจากความกังวลในเรื่องการชะลอการทำ QE Tapering และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นไทยไปแล้วเป็นจำนวน 3.1 แสนล้านบาท ดังนั้นผลกระทบจาก QE Tapering จะมีอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ประกอบกับตลาดหุ้นไทยนั้นมีโอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาและผลกระทบของ Covid-19 มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม ตลาดอาจมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาจากการที่นักลงทุนอาจมีการขายหุ้นทำกำไรในภูมิภาคที่มีการปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันตลาดหุ้นไทยในช่วงปี 2565 จะมาจากเรื่องการกลายพันธุ์ของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่อาจจะทำให้วัคซีนที่ประชาชนได้รับมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีน และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

สำหรับกลุ่มสินทรัพย์ REIT นั้นยังคงได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป ที่มีการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้น โดยจากข้อมูลในอดีต ค่าเช่าสินทรัพย์สามารถให้ผลตอบแทนที่เหนือกว่าอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้