ผู้เขียน หัวข้อ: 'บมจ. พีซแอนด์ลีฟวิ่ง' ทำ MOU ร่วมกับ CPAC Green Solution  (อ่าน 401 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
'บมจ. พีซแอนด์ลีฟวิ่ง' ทำ MOU ร่วมกับ CPAC Green Solution เสริมแกร่งพัฒนางานก่อสร้าง

คุณสุทธิชัย พูนลาภทวี (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ, คุณกิตติเดช ปัญญา (ซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานก่อสร้าง บริษัท พีซแอนด์ลีฟวิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PEACE ร่วมกับ คุณกัลยา วรุณโณ (ที่ 2 จากขวา) Managing Director - CPAC Smart Structure, คุณศุภกิจ ศุภมิตรกิจจา (ขวา) Management Executive บริษัท ปูนซิเมนต์ (ท่าหลวง) จำกัด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อพัฒนางานก่อสร้างด้วยระบบ Precast เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการก่อสร้างด้วยระบบ Precast ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในการเป็น พันธมิตรทางธุรกิจ (Partner) ร่วมกันอย่างยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้

บอร์ดกทพ.เคาะร่างกม.เวนคืนทางด่วนกะทู้-ป่าตอง เล็งเปิดประมูลต้นปี 66

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ.วานนี้ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กทพ.เสนอตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตองจังหวัดภูเก็ต ระยะทางรวม 3.98 กม.วงเงินลงทุน 14,670.57 ล้านบาท โดยขั้นตอนจากนี้จะเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ ในการเสนอร่างพ.ร.ฎ.เวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนฯ พ.ศ 2562 จะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง กทพ. รวมถึงการจัดทำแผนที่ท้ายร่างพ.ร.ฎ.ดังกล่าว และความเห็นจากสำนักงบประมาณเพื่อประกอบ ร่างพ.ร.ฎ.เวนคืนที่นำเสนอ คาดว่าจะเสนอครม.พิจารณาได้ภายใน 2-3 เดือน หลังจากนั้นจะเสนอกฤษฎีกาพิจารณาตรวจร่าง คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืน ภายในปี 2565 จากนั้นจะเริ่มเข้าพื้นที่สำรวจและจ่ายค่าทดแทน โดยมีกรอบงบค่าเวนคืน 5,792 ล้านบาท มีพื้นที่เวนคืน จำนวน 192 แปลง

สำหรับการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมทุน คาดว่าจะตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในเดือนก.พ.-มี.ค.เนื่องจาก ต้องรอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประกาศขั้นตอนการดำเนินการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact: IP) ซึ่งคาดว่าสคร.จะเสนอครม.ในเดือนก.พ.นี้ ส่วนการจัดทำร่างเอกสารประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชน (RFP) จะมีการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ด้วย คาดว่าจะเสนอบอร์ดกพท.พิจารณาในเดือนพ.ค.-มิ.ย.65 คาดว่าจะประกาศประมูลได้ในต้นปี 2566 ได้ตัวผู้ร่วมทุนในต้นปี 2567

นอกจากนี้ บอร์ดกทพ.ยังได้รับทราบหลักการที่กทพ. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินแนวทางลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคม โดยใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) เพื่อช่วยลดภาระงบประมาณรัฐบาล ซึ่งได้พิจารณาโครงการมีศักยภาพ เป็นโครงการที่เป็นทางเลือกในการเดินทาง สามารถจัดเก็บค่าผ่านทาง มีความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐ 3 โครงการ ที่กทพ.จะนำมาศึกษารายละเอียด ได้แก่ โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร, โครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา (สงขลา-พัทลุง) ระยะทาง 7 กม. มูลค่า 5,200 ล้านบาท, โครงการสะพานเชื่อมเกาะสมุย-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ระยะทาง 18 กม. มูลค่า 36,000 ล้านบาท

โดยคาดว่าในเดือนก.พ. จะมีการลงนามความร่วมมือ ของ 3 หน่วยงาน คือ กทพ.-ทล.-ทช. โดยกทพ.จะนำร่องที่โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ-จ.สมุทรสาคร-สมุทรสาคร ของทช.ซึ่งจะมีการส่งมอบแบบที่ทช. ศึกษา เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกับโครงข่ายเชื่อมต่อ MR 10 (โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3) ของทล. โดย กทพ.จะรับผิดชอบตั้งแต่ ถนนประชาอุทิศ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา-ถนนแพรกษา -ถนนบางนา-ตราด ระยะทางประมาณ 34 กม.วงเงินประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท