ผู้เขียน หัวข้อ: CIVIL ปิดเทรดวันแรกที่ 4.50 บาท ต่ำกว่า IPO 2.17%  (อ่าน 399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0


CIVIL ปิดเทรดวันแรกอยู่ที่ 4.50 บาท ลดลง 2.17 % หรือ 0.10 บาท จากราคา IPO 4.60 บาท มูลค่าซื้อขาย 2,243.70 ล้านบาท จากราคาเปิด 5.25 บาท ราคาขึ้นสูงสุด 5.25 บาท ราคาต่ำสุด 4.50 บาท

บล.บัวหลวง (เป็น Financial Advisor (FA) และ Lead Underwriter) ระบุว่า ประเมินมูลค่าพื้นฐานหุ้นบมจ.ซีวิล เอนจีเนียริง (CIVIL) ปี 2565 ที่ 5.4 บาท/หุ้น โดยอิง EPS ปี 2565 ที่ 0.38 บาท (Post-Money) และ PER ที่ 14.0 เท่า อ้างอิงจากค่าเฉลี่ย PER ในอดีต (Historical PER) ย้อนหลัง 7 ปี (ปี 2558-2564) ที่ 16.4 เท่า ของกลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดฯ ขนาดใหญ่ ถึง เล็ก รวม 6 บริษัท ที่รายงานผลกำไรได้เป็นส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มองอัพไซด์จะมาจากการประมูลโครงการใหม่ และบริหารต้นทุนได้มากกว่าคาด หลังจากที่บริษัทเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ จะทำให้ เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น มีโอกาสได้รับการตอบรับที่ดีจากพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อร่วมทุนในการเข้าประมูลโครงการในอนาคต โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

และ บริษัทมีเงินลงทุนพร้อมสำหรับเพิ่มเครื่องจักรใหม่ สำหรับรองรับการเข้าประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ที่จะทยอยออกมาหลังจากนี้ได้มากกว่าในอดีต รวมทั้งยังช่วยบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเครื่องจักรชุดเดิมที่อาจมีค่าซ่อมแซมมากกว่า

ดังนั้น เห็นโอกาสที่นักลงทุนจะให้มูลค่ากับ CIVIL มากขึ้น (re-rating valuation) ทำให้หุ้นซื้อขายได้บน Valuation ที่สูงขึ้นไปได้ เราจึงได้จัดทำตารางความอ่อนไหว (sensitivity analysis) ของมูลค่าพื้นฐาน กับ Target PER ในกรณีให้ส่วนลดตั้งแต่ 0-25% (Base case เราให้ส่วนลดที่ 15% ก่อน) ดังรูปด้านล่าง เพื่อให้นักลงทุนศึกษาเป็นทางเลือกประกอบการตัดสินใจพิจารณาลงทุน และได้มูลค่าพื้นฐานไปได้มากถึง 6.3 บาท ในกรณีกำหนด PER เท่ากับค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ

ทั้งนี้ CIVIL มีประเด็นสำคัญในการลงทุนให้ ดังนี้ 1) มีประสบการณ์รับเหมาก่อสร้าง ยาวนาน 55 ปี เริ่มจากงานทาง และขยายมางานเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สนามบิน นิคมอุตสาหกรรม และรางรถไฟ มีงานที่ยังไม่ส่งมอบ (Backlog) ราว 16,873 ล้านบาท โดยมีทีมผู้บริหารมากประสบการณ์ที่คอยถ่ายทอดประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น

2) เด่นเรื่องบริหารต้นทุน และนำเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งในแง่ลดขั้นตอนก่อสร้าง (Optimized workflow) ลดต้นทุนการก่อสร้าง (Cost Optimization) และมีโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างใกล้กับจุดก่อสร้างสำคัญใน 4 จังหวัด ช่วยลดต้นทุนวัสดุ และระยะเวลาในการขนส่ง ผลลัพธ์สะท้อนผ่าน GP สูงกว่าค่าเฉลี่ย และ Cost overrun น้อย

3) โอกาสมหาศาลจากภาพอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ที่จะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง หลังสถานการณ์โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจรุนแรงร้อยลง ภาคการก่อสร้างกลับมาทำงานได้ปกติ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณฯ รอบใหม่ คาด ก.คมนาคม ผลักดันการสร้างถนน-ทางด่วนกว่า 3 แสนล้านบาท และรัฐบาลผลักดันโครงการ PPP ค้างท่อกว่า 1 ล้านล้านบาท ออกมาระหว่าง 1-3 ปีนี้ และเห็นโครงการ EEC กลับมาอย่างจริงจังอีกครั้ง วางโครงสร้างพื้นฐานเศรษกิจประเทศรอบใหม่ ล้วนเป็นงานที่ CIVIL ถนัดทั้งสิ้น

4) กำไรผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และผลการดำเนินงาน Outperform กลุ่มฯชัดเจน พิสูจน์โดยงบฯงวด 9 เดือนปี 64 ที่กำไรหลักเติบโต 267% YoY และรายได้รับเหมาฯ เติบโตกว่า 30% YoY เทียบกับกลุ่มฯ ที่ลดลงเฉลี่ย 8% YoY ผลบวกจากการเข้าสู่ช่วงรับรู้รายได้อย่างมีนัยสำคัญของโครงการใหญ่

5) ประเมินแนวโน้มรายได้-กำไรเติบโตต่อปีนี้ แถมมี Scope of upsides เราคาดการณ์กำไรหลักปี 2565 ที่ 269 ล้านบาท เติบโต 15% YoY จากการเข้าสู่ช่วงการรับรู้รายได้โครงการรถไฟความเร็วสูง สระบุรี-แก่งคอย ขณะที่อัพไซด์จะมาจากโอกาสประมูลโครงการใหม่ได้มากกว่าคาด (5 พันล้านบาท/ปี) โดยเฉพาะงาน EEC และกรณีมีอัตรากำไรดีกว่าประเมินไว้จากการลดต้นทุนอย่างจริงจัง