ผู้เขียน หัวข้อ: หน่วยงานรัฐรวมพลังแบนคริปโทฯซื้อสินค้า  (อ่าน 371 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0

เป็นเรื่องปกติที่เราจะเห็นการแบน Cryptocurrency ห้ามนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) ในหลากหลายประเทศ จนถึงวันนี้ที่ประเทศไทยก็มีการแบน Cryptocurrency ไม่ให้ใช้มาเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการเช่นกัน

ตามรายงานล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล เห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตามมติคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: anons@sec.or.th หรือ ekarit@sec.or.th จนถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจในลักษณะให้บริการ ชักชวนหรือแสดงตน ว่าพร้อมจะให้บริการแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น จัดทำระบบและโฆษณาเชิญชวนร้านค้า การที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม

*IMF จี้เอลซัลวาดอร์เลิกใช้ Bitcoin เป็นสกุลเงิน

แม้ว่าประเทศเอลซัลวาดอร์จะเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นมิตรกับ Bitcoin ถึงขั้นประกาศให้เป็นสกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย (Legal Tender) สามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการภายในประเทศได้ แต่ด้วยท่าทีล่าสุดของเจ้าหนี้รายใหญ่ระดับโลกอย่าง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เรียกร้องให้ประเทศเอลซัลวาดอร์ลบสถานะทางกฎหมายของ Bitcoin หรือแปลได้ว่า "อย่าใช้ Bitcoin เป็น Legal Tender เลย" เพราะเสี่ยงจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินแล้วก็ภาระผูกพันทางการเงินของประชากรในประเทศเอลซัลวาดอร์

และด้วยประเด็นดังกล่าวอาจนำไปสู่ผลกระทบกับแผนการขอกู้ยืมเงินกับ IMF ของประเทศเอลซัลวาดอร์อาจไม่ราบรื่นเหมือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประเทศอื่นๆจะพบว่าก็มีมาตรการที่เข้มงวดในการกำกับดูแล Cryptocurrency ในกรณีที่นำมาเป็นสื่อกลางในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการเช่นกัน อาทิ อินโดนีเซีย ,อินเดีย ,ฮ่องกง ,สิงคโปร์ และอังกฤษ ก็อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการกำกับดูแลออกมา

ด้านประเทศโซนยุโรปและสหรัฐฯ ก็มีข้อเสนอให้มีกฎหมายจำกัดการออก Cryptocurrency เพื่อใช้ชำระเงินว่าจะต้องมีการขออนุญาตก่อน เช่น เหรียญ Stable Coin ต่าง ๆ

ส่วนด้านประเทศจีนก็ค่อนข้างมีความคิดเห็นที่ชัดเจนต่อ Cryptocurrency โดยเห็นว่าธุรกรรมที่เกี่ยวกับ Cryptocurrency เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ล่าสุด ธนาคารกลางสิงคโปร์ ออกมาประกาศห้ามโฆษณาแพลตฟอร์มซื้อขาย Cryptocurrency ในพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น ป้ายรถเมล์ หรือบนรถไฟฟ้า ห้ามจ้างดารา นักร้อง ผู้มีชื่อเสียง (Influencer) มาโฆษณาเกี่ยวกับ Cryptocurrency อีกด้วย สามารถโฆษณาได้เฉพาะในสื่อและเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มตัวเองเท่านั้น รวมถึงไม่อนุญาตให้ทำการถอน Cryptocurrency ผ่านตู้เอทีเอ็ม เพราะมองว่ามีความเสี่ยงสูงไม่เหมาะกับคนทั่วไป

*ไม่มีอีกแล้ว "Ethereum 2.0" แต่จะมี "Consensus Layer"

แล้วก็รอคอยกันมานานแสนนานเกี่ยวกับ Ethereum 2.0 ที่คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในไตรมาส 2 หรือ 3 ของปี 2565 คงใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว ล่าสุด Ethereum Foundation ก็ได้ทำการลบโพสอ้างอิงทั้งหมดเกี่ยวกับ ETH 1.0 และ ETH 2.0 ออกแล้วทำการ Rebrand เปลี่ยนชื่อใหม่ โดยเปลี่ยน ETH 1.0 เป็น "Execution Layer" และ ETH 2.0 เป็น "Consensus Layer"

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้เพื่อป้องกันการสับสนของผู้ใช้งานหน้าใหม่ที่มักเข้าใจผิดว่า ETH 1.0 มาแล้ว ETH 2.0 จะตามมา หรือถ้า ETH 2.0 เริ่มใช้งานแล้ว ETH 1.0 จะหยุดทำงาน

สิ่งเหล่านี้นับเป็นความเข้าใจที่ผิดและการเปลี่ยนชื่อเรียกครั้งนี้ ก็จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น ส่วนของคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การ Merge หรือว่าการแชร์ chain ก็จะเปลี่ยนคำเรียกเป็นคำว่า Upgrade ต่อไป