ผู้เขียน หัวข้อ: ttb analytics ประเมิน 3 ปัจจัยเสี่ยงปี 65 ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญ  (อ่าน 366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • *
  • กระทู้: 1,059
  • Popular Vote : 0
ttb analytics ประเมิน 3 ปัจจัยเสี่ยงปี 65 ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญ ชี้ผู้ประกอบการปรับตัว วางกลยุทธ์ตามระดับผลกระทบ พร้อมแนะภาครัฐช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจให้ตรงตามความเสี่ยง

การดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงรอบด้าน ผู้ประกอบการต้องพยายามประคับประคองรายได้ ของธุรกิจให้อยู่รอด ดังนั้น ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่กระทบกับธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องทราบเพื่อเตรียมรับมือให้ทันท่วงที ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics จึงทำการศึกษา 3 ปัจจัยเสี่ยงในปี 2565 ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญ ได้แก่ 1) การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 2) การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ 3) ความเข้มงวดของนโยบายการค้าโลกที่มีผลต่อการส่งออก โดยแบ่งผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ 1 การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 และ 2564 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างมาก โดยประเมินเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ดังนี้

ปี 2563 เหตุการณ์ระบาดระลอกแรก (เริ่มเดือนเมษายน 2563) ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจภาคการค้า การบริการ และอุตสาหกรรม ลดลงทันทีกว่า 15-25% จากระดับปกติปี 2562 โดยในช่วง 3 เดือนแรกนับจากการแพร่ระบาด ภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ประเทศแบบเข้มงวด หลังจาก 3 เดือนของการแพร่ระบาดเริ่มบรรเทาลง ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยและกังวลต่อการแพร่ระบาด ทำให้ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมยังหดตัว 5% ส่วนภาคบริการยังคงหดตัวถึง 15% จากระดับปกติ
ปี 2564 เหตุการณ์ระบาดระลอก 2-3 (เริ่มมกราคม 2564 และเริ่มเมษายน 2564) การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้ง ภาครัฐใช้มาตรการล็อกดาวน์เชิงรุก ด้วยการแยกพื้นที่ควบคุมตามความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้น้อยกว่าระลอกแรก กล่าวคือ ดัชนีเศรษฐกิจภาคการค้า บริการ และอุตสาหกรรมลดลงประมาณ 15% และหลังการระบาดผ่านไป 3 เดือน กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้เร็วกว่าระลอกแรก โดยในช่วง 8 เดือนหลังการระบาด ดัชนีชี้วัดภาคการค้าและอุตสาหกรรมสามารถกลับมาเท่าระดับเดิมได้เช่นเดียวกับในปี 2562 อย่างไรก็ตาม ภาคบริการยังคงน่าห่วง เนื่องจากมีตัวเลขที่ยังคงหดตัว 15% เช่นเดิม เนื่องจากภาคบริการต้องพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลัก การที่นักท่องเที่ยวต่างชาติขาดหายไป และนักท่องเที่ยวไทยที่ยังกังวลต่อการแพร่ระบาด ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคบริการโดยภาพรวมยังไม่ฟื้นตัว
ttb analytics ประเมินว่า การระบาดในระลอกล่าสุด จะไม่รุนแรงเท่ากับการระบาดในครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมาและจะใช้เวลา ประมาณ 3 - 4 เดือน เพื่อกลับสู่ระดับปกติ (เทียบกับรายได้ปี 2562 ) ยกเว้นธุรกิจบริการที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากไทยมีประสบการณ์ในการจัดการกับการแพร่ระบาด สามารถป้องกันได้ ทั้งในส่วนภาคเอกชนและประชาชน อีกทั้งมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมทั่วประเทศ และเร่งฉีดเข็ม 3 ดังนั้น การใช้มาตรการป้องกันจึงเป็นไปในลักษณะเชิงผ่อนคลาย ไม่รุนแรงจนต้องล็อกดาวน์ ทำให้ภาคธุรกิจค่อย ๆ ปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกับการแพร่ระบาด โดยประเมินความเสี่ยงตามรูปแบบการฟื้นตัวหลังการระบาดบรรเทาลงจาก 3 ระลอกที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจที่ยังมีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ท่องเที่ยวและร้านอาหาร ความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ขนส่งและโลจิสติกส์ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยเสี่ยงที่ 2 การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นปี 2564 ราคาวัตถุดิบฝั่งผู้ผลิตในกลุ่มพลังงานและอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 45% และ 5% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 ในขณะที่ราคาสินค้าฝั่งผู้บริโภคกลุ่มขนส่งและอาหาร ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 10% และ 1% ตามลำดับ

การที่ราคาวัตถุดิบฝั่งผู้ผลิตปรับตัวสูงกว่าราคาฝั่งผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าประเภทเดียวกัน สะท้อนถึงผลกำไรของผู้ประกอบการมีแนวโน้มลดลง ทั้งในกรณีที่ธุรกิจไม่สามารถส่งผ่านราคาวัตถุดิบไปยังผู้บริโภคได้ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบปรับสูงขึ้น กำไรลดลง และในกรณีที่ธุรกิจสามารถส่งผ่านราคาวัตถุดิบไปยังราคาสินค้าฝั่งผู้บริโภคได้ แต่จะทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง นำไปสู่ยอดขายของผู้ประกอบการลดลงตามไปด้วย
ttb analytics ประเมินว่าแนวโน้มราคาวัตถุดิบอาหารและพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง จากผลการวิเคราะห์ตามตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output Table) พบว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน ส่งผลทำให้สัดส่วนต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.2% โดยธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ อาหาร โรงแรมและร้านอาหาร เครื่องดื่ม ขนส่งโลจิสติกส์ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ 3 ความเข้มงวดของนโยบายการค้าโลกและการแข่งขันสูง ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวโดยเห็นได้จากสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อจีดีพีของไทยลดลงจาก 138% ในปี 2554 มาอยู่ที่ 98% ในปี 2563 แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ชี้ว่า การพึ่งพิงภาคการค้าระหว่างประเทศมีทิศทางลดลง ประเทศต่าง ๆ หันมาพึ่งเศรษฐกิจในประเทศของตนเองมากขึ้น ดังนั้น มาตรการการค้าที่เข้มงวดจะถูกนำมาใช้ อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti- dumping: AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU fishing) การใช้แรงงานผิดกฎหมาย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ttb analytics ประเมินว่า การกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีดังกล่าวจะยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอุตสาหกรรมในประเทศตนเอง ทำให้ธุรกิจส่งออกไทยที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้อาจทำให้ยอดส่งออกชะลอลง โดยธุรกิจส่งออกที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ประมง ธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ อาหาร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ยางพารา เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก และเกษตรแปรรูป

จาก 3 ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ควรจับตามองธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวกับกลุ่มอาหาร โดยเมื่อประมวลผลกระทบรวมของสามปัจจัยเสี่ยงแล้ว ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในระดับสูง เนื่องจาก ได้รับความเสี่ยงทั้งจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุนและรายได้โดยตรง เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังในปี 2565 เป็นพิเศษ

แนะผู้ประกอบการปรับตัวและภาครัฐช่วยเหลือตามความเดือนร้อน ทั้ง 3 ปัจจัยเสี่ยงส่งผลกระทบต่อธุรกิจแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้ประกอบการทราบถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่กระทบต่อธุรกิจของตนเอง จะทำให้วางแผน และ ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจก่อนที่ความเสี่ยงจะเข้ามากระทบกับธุรกิจได้ เช่น หากความเสี่ยงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อรายได้ลดลง สามารถใช้กลยุทธ์การกระจายตลาดหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ รักษาฐานลูกค้าให้มั่น หากความเสี่ยงกระทบด้านต้นทุน ก็มุ่งเน้นการลดต้นทุนลงในรูปแบบต่าง ๆ โดยที่คุณภาพไม่ลดลง ในขณะที่ภาครัฐ เมื่อทราบถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจ ควรดำเนินมาตรการประคับประคองรายได้และต้นทุนของผู้ประกอบการในธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อนให้ตรงกลุ่ม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าฟันความเสี่ยงที่เผชิญอยู่และกลับมาฟื้นตัวได้ดังเดิมธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กำหนดเป้าหมายทางการเงินในปี 65

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin :NIM) จะอยู่ที่ 3.15-3.30% จากปีก่อนอยู่ที่ 3.20%
การเติบโตของสินเชื่อ (Lone Growth) อยู่ที่ 6-8% จากปีก่อนอยู่ที่ 7.88%
การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ (Net Fee Income Growth) คาดทำได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 7.01%
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) คาดทำได้ในระดับต่ำถึงกลาง หรือราว 40% จากปีก่อนอยู่ที่ 43.49%
Credit Cost per Year คาดทำได้ไม่ต่ำกว่า 160bps จากปีก่อนอยู่ที่ 173bps
อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ NPL Ratio (Gross) คาดอยู่ที่ 3.7-4.0% จากปีก่อนอยู่ที่ 3.76%
ทั้งนี้ เป้าหมายทางการเงินดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ของธนาคารในเบื้องต้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป