ผู้เขียน หัวข้อ: ALT วางเป้าติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปปีนี้ 50 โครงการ  (อ่าน 401 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0
ALT วางเป้าติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปปีนี้ 50 โครงการ เล็งกลุ่มลูกค้าโรงงาน-สำนักงาน-หน่วยงานรัฐ

น.ส.ปรียาพรรณ ภูวกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เอแอลที เทเลคอม (ALT) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการให้บริการด้านธุรกิจการจำหน่ายและติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ทั้งจากลูกค้าที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ในการติดตั้ง Solar Rooftop รูปแบบ Private PPA

"กระแสตอบรับ Solar Rooftop ดีมาก เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่บริษัทได้เริ่มมาทำธุรกิจด้านนี้อย่างจริงจัง โดย ALT เริ่มต้นในกลุ่มลูกค้ากิจการขนาดกลาง และขนาดเล็กที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่สูงมากนัก" น.ส.ปรียาพรรณ กล่าว
สำหรับรูปแบบ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) นี้ ALT จะเป็นผู้ลงทุนในอุปกรณ์ การติดตั้ง แผงโซล่าร์บนอาคาร รวมถึงดูแลรักษาระบบให้ทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการจ่ายค่าไฟฟ้า (ที่ผลิตจากแผงโซลาร์) รายเดือนตามระยะสัญญา 15 ปี โดยอัตราค่าไฟฟ้าจะลดลงกว่า 10-30% และมั่นใจได้ว่าอำนาจในการผลิตไฟฟ้าที่ใช้งานเป็นของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาด ดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลกในขณะนี้ โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนแต่อย่างใด

ส่วนแผนการดำเนินงาน ในปีนี้ ALT ตั้งใจว่าจะบุกตลาดทั้งในกลุ่มเอกชน และขยายฐานลูกค้าไปยังหน่วยงานภาครัฐ โดยประสานงานร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ในรูปแบบเป็นผู้ลงทุน Private PPA โดยมีเป้าหมายในปีนี้ ALT จะต้องวางพื้นฐานระบบ Solar rooftop ให้ได้มากกว่า 50 โครงการ

นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าหลักจะอยู่ในกลุ่มโรงงาน และสำนักงาน ที่มีอัตราค่าไฟฟ้าตั้งแต่ 1 แสนบาท/เดือนขึ้นไป โดยจะเน้นการติดตั้ง Solar rooftop ในรูปแบบ Private PPA เป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ระหว่างเจรจา มากกว่า 10 โครงการ ทั้งในส่วนภาครัฐ และเอกชน

น.ส.ปรียาพรรณ กล่าวว่า จุดแข็งของ ALT ในธุรกิจ Solar rooftop ประเด็นแรกมาจากการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงในการติดตั้ง โดยในส่วนของแผ่น PV แบรนด์ Q cells อยู่ในกลุ่ม Tier 1 และได้รับการยอมรับด้านประสิทธิภาพสูงสุดในกลุ่มเดียวกัน เป็นแบรนด์ที่ได้วิศวกรรมจากประเทศเยอรมัน ผลิตในประเทศเกาหลีใต้ มีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า ขณะที่ inverter แบรนด์ Huawei ซึ่งได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสูงสุดในกลุ่มของ inverter

ALT ยังมีความยืดหยุ่นในการปรับรูปแบบการซื้อขายไฟ หรือการลงทุน และความคุ้มทุนเพื่อให้เหมาะกับธุรกิจของลูกค้า รวมทั้งการเข้าถึงกลุ่มกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง และต้องการลดค่าไฟฟ้าลง โดยที่ไม่ต้องการลงทุน และเป็นภาระในการดูแลรักษาระบบเอง การให้คำปรึกษาและเข้าสำรวจหน้างานอย่างรวดเร็ว รวมถึงการออกแบบระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า

ล่าสุดบริษัท ได้ลงทุนติดตั้ง Solar Rooftop รูปแบบ Private PPA ให้กับบริษัท ไท่ซาน คอร์เปอเรท แล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทมีภาระค่าไฟฟ้าประมาณ 200,000-300,000 บาทต่อเดือน หรือใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 200.7 กิโลวัตต์

ด้านนายวินิทร ตั้งวิรุฬห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไท่ซาน คอร์เปอเรท จำกัด กล่าวว่า บริษัททำธุรกิจร้านค้าส่งเน้นตลาด 20 บาททุกชิ้น ที่นำเข้าจากประเทศจีนเป็นหลัก โดยเปิดดำเนินการมานานประมาณ 5-6 ปีแล้ว มีสินค้าที่บริษัทจัดจำหน่ายอยู่ไม่ต่ำกว่า 2 แสนรายการ ซึ่งผลิตภัณฑ์สินค้าทุกอย่าง 20 บาทถือเป็นตลาดมีกระแสตอบรับที่ดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และคนจะตัดสินใจซื้อสินค้าง่าย เนื่องจากมีราคาถูก ทำให้ตลาด 20 บาทยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะแม้ว่าจะเกิดสถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ตลาด 20 บาทก็ยังสามารถเติบโตได้ดี

เหตุที่ติดตั้งแผงโซลาร์ รูฟท็อป นั้น เพราะมองว่าจะช่วยประหยัดใช้ไฟฟ้าได้มาก เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าราว 3 แสนบาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นต้นทุนสัดส่วนราว 20-30% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดเนื่องจากอาคารและคลังสินค้าติดแอร์ทั้งหมด

"ผมศึกษาเรื่องติดตั้งแผงโซลาร์มาซักพักแล้ว โดยมีความสนใจส่วนตัวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และศึกษาข้อมูลจากเพื่อนๆ ในแวดวง ซึ่งก็เคยมีบริษัทอื่นมาติดต่อที่จะติดตั้งแผงโซลาร์ให้เหมือนกัน แต่พอพิจารณาเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่างๆ แล้ว ถือว่า ALT ให้ประโยชน์สูงสุด ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าแล้ว ที่สำคัญผมไม่ต้องลงทุนเองด้วย แถมทาง ALT ยังเป็นผู้มาดูแลรักษาให้ตลอดอายุสัญญาอีกด้วย รวมทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" นายวินิทร กล่าว
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มองว่ารูปแบบ Private PPA เป็นรูปแบบที่ดี ต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ทางบริษัทฯ ไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายใดๆ และได้รับผลตอบแทนในระยะยาว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สนใจ เพราะช่วยลดต้นทุนได้จริง