ผู้เขียน หัวข้อ: 'ทรีนีตี้' ชี้ก.พ.ยังต้องระวังดัชนีแกว่งผันผวน แม้จะไม่มีการประชุมเฟด  (อ่าน 359 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0
'ทรีนีตี้' ชี้ก.พ.ยังต้องระวังดัชนีแกว่งผันผวน แม้จะไม่มีการประชุมเฟด แต่ตลาดจะผันแปร ไปก่อนตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาทั้งการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ

'ทรีนีตี้' ชี้ก.พ.ยังต้องระวังดัชนีแกว่งผันผวน แม้จะไม่มีการประชุมเฟด แต่ตลาดจะผันแปร ไปก่อนตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาทั้งการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ มอง SET ระดับปัจจุบันอยู่ในระดับที่สมดุล แนะบริหารพอร์ตด้วยกลยุทธ์ขึ้นขาย -ลงซื้อตามกรอบ ระบุธีมหุ้นปันผลยังคงโดดเด่นให้ผลตอบแทนชนะตลาด พร้อมแนะทยอยสะสมหุ้นเติบโตที่ราคาปรับลงมาแรงเกินไป

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือน ก.พ.2565 ว่า ปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการลงทุน คือรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งถ้าหากออกมาแตกต่างจากเดือนก่อนหรือคาดการณ์ของตลาดมาก จะส่งผลกระทบต่อความคิดของของนักลงทุนในตลาดต่อแนวนโยบายการเงินของ Fed ในช่วงถัดไปได้ แนะจับตาตัวเลขสำคัญที่จะออกมาในเดือนนี้ได้แก่ การรายงานตัวเลขการจ้างงานในวันที่ 4 ก.พ. และการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในวันที่ 10 ก.พ.

ทั้งนี้ จากการที่ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนมีการเร่ง Price in ประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จึงทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้น และส่งผลให้ความชัน Yield curve ของสหรัฐฯแบนราบลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับฝั่งของไทยที่แนวโน้มการเข้มงวดนโยบายการเงินยังคงห่างไกล จึงทำให้ความชัน Yield curve ของไทยเราทรงตัวได้อยู่ในระดับสูง ภาพของ Bond yield ที่มีลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่มีลักษณะเป็น Value stock เช่นกลุ่มธนาคารและอสังหาฯ

'ตอนนี้เราจะเห็นความต่างของการดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐฯ ที่กำลังขึ้นดอกเบี้ย มองไปข้างหน้าคือการเติบโตของเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาหรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในโหมดผ่อนคลาย เช่นจีนลดดอกเบี้ย ส่วนประเทศไทยเอง ก็เชื่อว่าปีนี้ทั้งปีจะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว'

นายณัฐชาต กล่าวว่า ในส่วนของคาดการณ์ดัชนีปีนี้ได้ปรับลดลงมาเล็กน้อยจากเดิมที่มองว่าจุดสูงสุดของดัชนีจะอยู่ที่ 1,800 จุดก็ลงมาเหลือ 1,770 จุด (อิงประมาณการ EPS ปี 2566) เพราะนับจากต้นปีประเด็นการเข้มงวดนโยบายการเงินของ Fed ที่เร็วเกินคาดได้ผลักดันให้ Bond yield ของสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ จนส่งผลกระทบต่อ Valuation ของ SET Index ผ่านมาตรวัด Earning yield gap ในทางกลับกัน หากใช้มาตรวัดดังกล่าวกับประมาณการ EPS ปี 2565 จะได้ระดับแนวรับสำคัญ ของ SET ที่ระดับ 1,560 จุด นั่นหมายความว่าที่ระดับดัชนีปัจจุบันแถว 1,660 จุด ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างสมดุลในเชิง Valuation ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ จึงแนะนำเพียง Selective การถือครองไปยังกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะปรับตัว Outperform ตลาดเท่านั้น

ซึ่งกลุ่มแรกที่แนะนำต่อเนื่องได้แก่ธีมหุ้นปันผลสูง ที่ล่าสุดให้ผลตอบแทนชนะตลาดอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเลือกตัวที่ Laggard มาในเดือนนี้อย่างเช่น ADVANC, INTUCH, MAJOR, TOG ส่วนอีกกลุ่ม ที่น่าสนใจได้แก่ หุ้นเติบโตที่ราคาหุ้นปรับฐานลงมาแรง แต่ประมาณการ EPS ไม่ได้ถูกปรับลดแต่อย่างใด ส่งผลให้ Valuation ปรับเข้าสู่ระดับที่น่าสนใจมากขึ้น อาทิ HANA, KCE, JMT

นายณัฐชาต กล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในช่วงถัดไปได้แก่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มไม่เป็นไปตามคาดหวังและเผชิญอุปสรรคมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงกับการบริโภคภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้คนออกมาจับจ่ายใช้สอยนอกบ้านน้อยลง สะท้อนผ่านดัชนี Mobility ที่ปรับตัวลดลงในหลายจังหวัด หากราคาสินค้าในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ อาจทำให้กลุ่มหุ้นที่อิงกับภาคการบริโภคภายในประเทศมี Downside risk ที่มากขึ้นได้