ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.คลัง ยันธุรกิจประกันภัยไทยยังแข็งแกร่งแม้บางบริษัทเกิดปัญหา  (อ่าน 373 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
รมว.คลัง ยันธุรกิจประกันภัยไทยยังแข็งแกร่งแม้บางบริษัทเกิดปัญหา "เจอ จ่าย จบ"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ "นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศกับบทบาทของประกันภัยในยุค New Normal" ว่า ธุรกิจและระบบประกันภัยของไทยยังมีความแข็งแกร่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ทดสอบความแข็งแรงของบริษัทประกันภัยทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็กอยู่ตลอดเวลา โดยพิจารณาถึงระดับเงินสำรอง และความสามารถของแต่ละบริษัทในการรองรับวิกฤติต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงนี้ พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับกรณีประกันโควิด-19 แบบเจอ จ่าย จบ ที่เป็นปัญหาและส่งผลกระทบอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีการปิดกิจการไป 2 บริษัท ทางคณะกรรมการ คปภ.ได้มีการเสนอแนะนโยบายการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้เอาประกัน ส่วนบริษัทที่อยู่ระหว่างการขอคืนใบอนุญาตนั้น คปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการอย่างใกล้ชิด

"ได้ให้นโยบายกับ คปภ. ไปว่า จะต้องดูแลและคุ้มครองผู้เอาประกันอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ทั้งกรณีที่สั่งปิดกิจการ ก็เป็นภาระหน้าที่ของกองทุนประกันวินาศภัยที่จะต้องดูแล ส่วนกรณีการขอคืนใบอนุญาตก็ต้องคุ้มครองผู้เอาประกันอย่างดีที่สุด ทางบริษัทจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ผู้เอาประกันที่ต้องการคืนประกันต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่" นายอาคม กล่าว
ทั้งนี้ ธุรกิจประกันภัยถือว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาและระดมทุนให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ประเทศไทยต้องเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจประกันภัยก็ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสอดรับกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กฎ กติกา และการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิตอย่างใกล้ชิดของ คปภ. โดยเชื่อว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว ธุรกิจประกันภัยก็ยังจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการระดมเงินออมไปสู่การลงทุน และมีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

นายอาคม กล่าวอีกว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 ภาคธุรกิจ รวมถึงธุรกิจประกันภัยจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง และต่อยอดการเติบโตในระยะต่อไป โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งที่ผ่านมาภาคการเงินและภาคการคลังได้ปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายด้านแล้ว ขณะที่ธุรกิจประกันภัยก็ควรปรับตัวและเริ่มดึงเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามารองรับการทำงาน พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว

"วันนี้ระบบการเงินโลกเปลี่ยนไป ดิจิทัลแอสเซทเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ตรงนี้เป็นอีกเรื่องที่ คปภ. ต้องนำไปขบคิดด้วยว่าอะไรจะมีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจประกันภัยในอนาคต" นายอาคม กล่าว
นอกจากนี้ การให้ความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศก็เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งในธุรกิจประกันภัยเองที่ผ่านมามีการดำเนินการในเรื่องนี้ผ่านโครงการประกันภัยพืชผล สินค้าเกษตร 2 ชนิด คือ ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นหลักประกันให้เกษตรกรที่เจอปัญหาภัยธรรมชาติ โดยพบว่าโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ช่วยลดภาระของรัฐบาลในการดูแลภาคเกษตรกร และในระยะต่อไปธุรกิจประกันภัยควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงสร้างประชากรของไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปีนี้มีสัดส่วนผู้สูงอายุถึง 20% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านโครงสร้างนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เพราะการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น หากไม่มีการออม บั้นปลายชีวิตจะมีรายได้ไม่เพียงพอ การดูแลผู้สูงอายุก็เป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐ ทั้งหมดจะส่งผกระทบต่อตลาดแรงงาน นี่จึงเป็นอีกปัจจัยที่ภาคเอกชนจะต้องปรับตัว โดยเฉพาะภาคการผลิตและการบริการที่ใช้แรงงานสูง ขณะที่ภาคเกษตรก็ต้องมีการนำเทคโนโลยี เครื่องจักรเข้ามาช่วยมากขึ้น เป็นอีกประเด็นที่ภาคธุรกิจประกันภัยจะต้องคำนึงถึง