ผู้เขียน หัวข้อ: PEACE เคาะราคาเสนอขาย IPO  (อ่าน 315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
PEACE เคาะราคาเสนอขาย IPO
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2022, 02:01:02 am »
PEACE เคาะราคาเสนอขาย IPO ที่ 3.98 บาท/หุ้น เปิดจอง 2-7 ก.พ.เทรด 10 ก.พ.

บมจ.พีซแอนด์ลีฟวิ่ง (PEACE) กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 84 ล้านหุ้น ที่ 3.98 บาท/หุ้น จากมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท เปิดให้จองซื้อในระหว่างวันที่ 2-4 และ 7 ก.พ.65 มี บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO ในครั้งนี้ พร้อมผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 3 ราย ได้แก่ บล.เอเซีย พลัส, บล.ทิสโก้ และ บล.เคทีบีเอสที โดยจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ในวันที่ 10 ก.พ.

การกำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ที่เสนอขายในครั้งนี้ พิจารณาจากราคาอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทฯ (P/E) โดยราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 3.98 บาท คิดเป็น P/E โดยคำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Pre-IPO Dilution) เท่ากับ 6.75 เท่า คำนวณโดยกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเท่ากับ 198.16 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทฯ ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับ 336 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.59 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ หากพิจารณา P/E โดยคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทหลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ (Post-IPO Dilution) เท่ากับ 8.47 เท่า คำนวณโดยกำไรสุทธิต่อหุ้นจากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเท่ากับ 198.16 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทฯ หลังการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับ 420 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท จะได้กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.47 บาทต่อหุ้น

อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิดังกล่าวคำนวณจากผลประกอบการในอดีต โดยที่ยังมิได้พิจารณาถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

PEACE จะนำเงินจากการเสนอขายหุ้น IPO ไปใช้ในการซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการ โดยที่ในช่วง 1-2 ปีนี้ จะซื้อที่ดินในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นหลัก เพราะยังคงเป็นทำเลที่คนมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจะเริ่มมองการซื้อที่ดินในต่างจังหวัดเข้ามาเสริมเพื่อขยายตลาดในอนาคต โดยมีความสนใจเข้าไปพัฒนาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีการพัฒนาโครงการในจังหวัดระยองมาก่อนแล้ว

บริษัทได้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบเริ่มตั้งแต่ปี 32 พัฒนาโครงการประเภทรีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี และประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นับจากอดีตถึงปัจจุบันมีการพัฒนาโครงการมาแล้วรวมทั้งสิ้น 25 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 1.65 หมื่นล้านบาท โดยมีเป้าหมายการปิดการขายโครงการภายใน 2?3 ปีสำหรับโครงการที่มีจำนวนยูนิตไม่เกิน 200 ยูนิต และภายใน 3-5 ปีสำหรับโครงการที่มีมากกว่า 200 ยูนิต

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 64 บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายและรอโอนรวม 7 โครงการ มูลค่ารวม 4.71 พันล้านบาท และมียอดขายรอโอน (Backlog) ราว 600 ล้านบาท

แผนงานในปี 65 บริษัทวางแผนเปิดโครงการใหม่ 3 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านบาท อยู่ใน 3 ทำเล คือ เจษฎาบดินทร์, กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า และบางกรวย-ไทรน้อย ภายใต้แบรนด์ cher เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามแผนงานของบริษัท และเมื่อรวกับโครงการที่บริษัทอยู่ระหว่างการขายอีก 7 โครงการ มูลค่าเหลือขายกว่า 2 พันล้านบาท ทำให้บริษัทมีสินค้ารองรับการขายให้กับลูกค้ารรวมมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ที่รองรับการเติบโตของบริษัทหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ