ผู้เขียน หัวข้อ: ธอส. โชว์ New High ผลการดำเนินงานปี 64 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 2.47 แสนล้านบาท  (อ่าน 335 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
ธอส. โชว์ New High ผลการดำเนินงานปี 64 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 2.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.65% จากปีก่อน และสูงกว่าเป้าหมายถึง 31,234 ล้านบาท

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2564 ประสบความสำเร็จตามพันธกิจ "ทำให้ คนไทยมีบ้าน" ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยสินเชื่อใหม่สูงสุดในรอบ 68 ปี ที่จำนวน 2.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.65% สูงกว่าเป้าหมาย 31,234 ล้านบาท สินเชื่อคงค้าง 1,458,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.40% สินทรัพย์รวม 1,506,337 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.04% เงินฝากรวม 1,274,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.74% และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 58,381 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของยอดสินเชื่อรวม ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ผ่าน 22 มาตรการ รวมจำนวนลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือสูงสุด 973,227 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 847,218 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ GHB Next Move Sustainable Bank ก้าวสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนด้วย 3 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กร โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ 1)Technology 2)Operation และ 3)People ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 3% จากเป้าหมายปี 2564

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานปี 2564 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2563 ว่า แม้ตลอดปี 2564 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แต่ ธอส. ยังคงสามารถตอบสนองนโยบายรัฐบาล และกระทรวงการคลัง ในการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 246,875 ล้านบาท 181,843 บัญชี เพิ่มขึ้น 9.65% สูงกว่าเป้าหมาย 31,234 ล้านบาท และถือเป็นจำนวนสินเชื่อปล่อยใหม่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ 68 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท จำนวน 85,403 ราย คิดเป็น 57% ของจำนวนรายลูกค้าสินเชื่อปล่อยใหม่ ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,458,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.40% มีสินทรัพย์รวม 1,506,337 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.04% เงินฝากรวม 1,274,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.74% และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 58,381 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมี NPL อยู่ที่ 3.75% ของสินเชื่อรวม และยังเป็นระดับที่บริหารจัดการได้ ธนาคารได้ทยอยตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนสูงถึง 111,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.93% หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL ที่ระดับ 191.55% สะท้อนถึงความมั่นคงและพร้อมในการรองรับผลกระทบจาก COVID-19 ในอนาคต และยังคงมีกำไรสุทธิที่ 12,351 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ระดับแข็งแกร่งที่ 15.30% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดที่ 8.50% ขณะที่การให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 นับตั้งแต่ต้นปี 2563 ต่อเนื่องถึงสิ้นปี 2564 มีจำนวนลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือผ่าน 22 มาตรการสูงสุดถึง 973,227 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 847,218 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประมาณ 87% กลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติ ล่าสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 ยังคงมีลูกค้าที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคารลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้า 3 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน เพื่อขยายการให้ความช่วยเหลือต่ออีกอย่างน้อยถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 81,192 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 84,137 ล้านบาท

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2565 ธอส. กำหนดยุทธศาสตร์ภายใต้แนวคิด GHB Next Move Sustainable Bank มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนด้วย 3 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ประกอบด้วย

1.เพิ่มประสิทธิภาพ Technology ใช้ Technology Digital ปรับกระบวนการให้บริการลูกค้าด้วย Digital Services และ Implement Digital Operation สำหรับ Digital Services ธนาคารอยู่ระหว่างการพัฒนา Mobile Application : GHB ALL GEN เป็น New Version Mobile Application : GHB ALL ให้ทันสมัยใช้งานง่ายตอบโจทย์ Lifestyle แบบ New Normal ของลูกค้าทุก Generation ทั้งในด้านเงินฝากตั้งแต่กระบวนการเปิดบัญชี การโอนเงิน การซื้อสลากออมทรัพย์ การชำระหนี้เงินกู้สามารถใช้บริการเงินฝากประจำผ่าน Mobile Application ในด้านบริการสินเชื่อ ธนาคารจะยกระดับทั้งกระบวนการตั้งแต่การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ การติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อ (Digital Loan Officer) การทราบราคาประเมินผ่านระบบ GHB Digital Appraisal การแจ้งผลอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงการลงนามสัญญาแบบ Electronic ผ่านระบบ e-Contract ซึ่งลูกค้าจะได้รับเอกสารสัญญาเงินกู้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งหมดลูกค้าจะสามารถทำธุรกรรมกับธนาคารได้โดยผ่าน Mobile Application : GHB ALL GEN Any where Any time

ขณะที่กระบวนการประนอมหนี้ ลูกค้าสามารถประนอมหนี้ผ่าน Mobile Application : ALL Be Friend และซื้อบ้านมือสองของ ธอส. หรือ GHB NPA ผ่าน Mobile Application : ALL HOME ทุกธุรกรรมที่สำคัญลูกค้าจะได้รับการยืนยันผ่าน Line Application : GHB Buddy ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนบริการใหม่ ๆ เพิ่มเติมในต้นไตรมาส 4 ของปี 2565 ส่วนกระบวนการปฏิบัติงานภายในของธนาคารทั้งหมด ถูกยกระดับด้วย Digital Operation เช่น ระบบสื่อสารภายในของธนาคารผ่าน Application : WE รวมถึงระบบ Digitizer ซึ่งเป็นระบบการจัดการอนุมัติเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในปี 2564 ธนาคารสามารถนำแบบฟอร์มเข้าระบบได้ 148 แบบฟอร์ม ช่วยลดชั่วโมงการทำงานลงได้ถึงเกือบ 50% และยังทำให้สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงจากปีก่อนหน้าได้กว่า 60%

2.ยกระดับ Operation การทำงานที่เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อเป้าหมายสำคัญทางด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อปล่อยใหม่ เพิ่มขึ้น 3% จากเป้าหมายในปี 2564 บริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 4.67% ของสินเชื่อรวม โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางผ่าน Customer Journey : เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก, เข้าถึง, ใช้จริง, บอกต่อ และ Loyalty กับธนาคาร เริ่มจากการสร้างความ "รู้จัก" ด้วยการส่งเสริมภาพลักษณ์ของ ธอส. ให้เป็น Super brand ธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับการมีบ้านของลูกค้าทุกกลุ่มที่ต้องการใช้บริการจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านโครงการที่น่าสนใจ อาทิ GHB Online Virtual Event : มหกรรมการเงินออนไลน์บนโลกเสมือนจริง พร้อมข้อเสนอที่ดีที่สุด ที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายผ่านหน้าจอโทรศัพท์ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2565 "เข้าถึง" ด้วยการเพิ่มช่องทางการติดต่อให้กับลูกค้าผ่านดิจิทัล อาทิ โครงการ B-Mall เพื่อติดต่อลูกค้าผ่านช่องทาง Line Official แยกเขตพื้นที่ตามภูมิภาคเพื่อให้สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อ Digital Loan Officer ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยมีเจ้าหน้าที่สินเชื่อ Virtual Branch อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่สนใจยื่นกู้โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา

"ใช้จริง" ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลายและอัตราดอกเบี้ยต่ำ นำโดยโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรกเท่ากับ 1.99% ต่อปี สำหรับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในระดับราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ล่าสุด ณ วันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 9.00 น. มีลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 78,028 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 93,633 ล้านบาท ยื่นคำขอกู้แล้ว 8,020 ราย วงเงิน 7,021 ล้านบาท และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว 7,174 ราย วงเงิน 6,093 ล้านบาท และยังเตรียมนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสลากออมทรัพย์ มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อโดยตรงในลักษณะเดียวกันกับ Peer-to-Peer Lending (P2P) ที่เชื่อมโยงเงินระหว่างผู้มี Wealth มาเจอกันกับผู้ต้องการขอสินเชื่อ ส่วนการ "บอกต่อ" โดยการจัดทำโครงการ "Data Driven Analytic" การนำฐานข้อมูลการใช้บริการของลูกค้ามาวิเคราะห์และจัดผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นให้ตรงกับความต้องการ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาบ้านให้กับลูกค้าที่ประสบอุบัติเหตุมีปัญหาการผ่อนชำระด้วยช่องทางการติดต่อประนอมหนี้ผ่าน Application : GHB ALL Be Friend รวมถึงมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะท้อนความเข้าใจและอยู่เคียงข้างกับลูกค้าในช่วงที่ประสบปัญหาให้ได้ดีที่สุดต่อไป และนำไปสู่การมี "Loyalty" ที่จะเกิดขึ้นจากการที่ธนาคารมอบความช่วยเหลือลูกค้าในยามวิกฤต นำไปสู่การใช้บริการอย่างต่อเนื่องจากรุ่น สู่รุ่น และยังคงอยู่กับกับ ธอส. ตลอดไป

3.พัฒนาผู้ปฏิบัติงานสู่ People Excellence ด้วยการสร้าง Mindset บุคลากรกว่า 5,000 คน ด้วยค่านิยม GIVE+4
(G : Good Governance, I : Innovative Thoughts, V : Value Teamwork, E : Excellent Services, C : (En)courage to Change, A : Achievement Oriented, P : Professional และ S : Speed) เพื่อให้มีความพร้อมมีความสามารถในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เสมอการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พร้อมทำงานด้วยความรวดเร็วและเป็นมืออาชีพเพื่อเดินหน้าตามพันธกิจ : ทำให้คนไทยมีบ้าน ด้วยการ Up-skill ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับบริการดิจิทัลต่าง ๆ ของธนาคารได้อย่างชัดเจน รวมถึงการ Re-skill ให้มีทักษะในการให้บริการตรงกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน อาทิ การพัฒนาพนักงานการเงินมาให้บริการด้านสินเชื่อ สอดคล้องกับจำนวนธุรกรรมการเงินในสาขาที่ลดลงเพราะลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน Mobile Application GHB ALL เป็นจำนวนมาก ซึ่ง ณ สิ้นปี 2564 มีสัดส่วน Digital Transaction อยู่ที่ 62.04% ของจำนวน Transaction ทั้งหมด