ผู้เขียน หัวข้อ: SCB CIO หวั่นความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนแนวโน้มยืดเยื้อ  (อ่าน 385 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
SCB CIO หวั่นความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนแนวโน้มยืดเยื้อ แต่ผลกระทบตลาดหุ้นโลกยังคงจำกัด

SCB CIO ประเมินความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเป็นปัจจัยเฝ้าระวัง แม้โอกาสการเกิดสงครามเต็มรูปแบบค่อนข้างต่ำ แต่ความตึงเครียดยืดเยื้อ ผลกระทบช่วงสั้นจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มถูกนำมาใช้น่าจะตกอยู่กับตลาดการเงินรัสเซีย กลุ่มธนาคารยุโรปที่มีการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจในรัสเซีย นับเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ราคาพลังงานอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่วนผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกโดยรวมยังคงจำกัด แนะทยอยลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปได้ต่อ จากผลประกอบการที่ยังโตต่อเนื่อง รวมถึงการปรับนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่น่าจะเกิดขึ้นช้ากว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO มองปัญหาความขัดแย้งและผลกระทบจากแนวโน้มการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและชาติมหาอำนาจนำโดยสหรัฐฯ และอังกฤษ มีแนวโน้มยืดเยื้อ แม้โอกาสการเกิดสงครามเต็มรูปแบบค่อนข้างต่ำ เนื่องจากการทำสงครามเต็มรูปแบบจะเกิดผลเสียอย่างมหาศาลทั้งกับรัสเซีย สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยมาตรการคว่ำบาตรจากกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ( NATO) ที่มีแนวโน้มถูกนำมาใช้จะส่งผลกระทบทางลบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินรัสเซีย ในส่วนของสหภาพยุโรป มีแนวโน้มจะประสบปัญหาความมั่นคงด้านพลังงาน เนื่องจากพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในสัดส่วนสูง โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติ (LNG) ของรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35% ของปริมาณการใช้ก๊าซของยุโรปในปี 2022 และสหรัฐฯ จะเกิดปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวต่อเนื่องจะยิ่งทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ( Fed) ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าเดิม ซึ่งจะกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ในระยะสั้นประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือ รายละเอียดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (economic sanctions) ที่อาจนำมาใช้ต่อรัสเซีย ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดเงินของรัสเซีย และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานในยุโรป รวมถึงสถาบันการเงินและภาคธุรกิจของยุโรปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในรัสเซีย

ผลกระทบหลักตกที่ตลาดการเงินของรัสเซีย ในขณะที่ผลกระทบต่อตลาดหุ้นยุโรปและราคาน้ำมันและราคาทองคำยังจำกัด

ผลกระทบต่อตลาดรัสเซีย: ความตึงเครียดส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยงของรัสเซีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นรัสเซียที่ปรับลงและค่าเงินรัสเซียที่อ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ โดย MOEX index ปรับลดลงราว 7%YTD และเคยปรับลงมากสุดถึง 15% จากช่วงต้นปีระหว่างวันที่ 18-19 ม.ค. ซึ่ง valuation ของ MOEX index ปรับลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.7 เท่าบน 12-month forward P/E (ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีอยู่ที่ 4.6 เท่า ในเดือนมี.ค. 2014 ช่วงเกิดความตึงเครียดในคาบสมุทรไครเมีย) และ 5-year CDS spread ของรัสเซียได้เพิ่มขึ้นกว่า 200 bps (สะท้อน sovereign risk ที่เพิ่มขึ้น) แต่ยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าระดับราว 600 bps ในเดือนม.ค. 2015 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความตึงเครียดในรอบนี้ส่งผลต่อตลาดรัสเซีย ไม่ได้รุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับอดีต รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลักของรัสเซีย เช่น ราคาแพลเลเดียม ที่ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านราคารุนแรงมาก และเพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี

ผลกระทบต่อตลาดยุโรป: ในภาพรวม มองผลกระทบโดยตรงยังมีแนวโน้มจำกัด จากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1)ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรป (EU natural gas price) ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ต้นปีและพึ่งผ่านจุดสูงสุดของราคาในช่วงปลายปี 2021 (2) ราคาหุ้นสินค้าอุปโภคคงทน (consumer durables) และหุ้นสถาบันการเงินของยุโรปส่วนใหญ่ไม่ได้ปรับลงมากจากเหตุการณ์ (3) คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในช่วง 1 ปีข้างหน้าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (เพิ่มขึ้นเพียง 10-20 bps) สะท้อนว่าตลาดไม่ได้กังวลมากนักถึงสถานการณ์เงินเฟ้อจากความขัดแย้งปัจจุบัน (4) credit spread ของ EU HY กลับแคบลงเมื่อเทียบกับ US HY สะท้อนว่าความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นกู้ยุโรปโดยรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ดังนั้น จึงพอสรุปได้เบื้องต้นว่า ความผันผวนด้านราคาของสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดยุโรปส่วนใหญ่มีแนวโน้มมาจากความกังวลด้านการถอนสภาพคล่องของ Fed ในช่วงก่อนหน้ามากกว่าประเด็นรัสเซีย-ยูเครนโดยตรง มองตลาดหุ้นยุโรปในช่วงสั้นยังอยู่ในแนวโน้มพักฐานเพื่อรอความชัดเจนในการเจรจาหาข้อสรุป

ผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์: ค่อนข้างมีผลชัดเจนมากที่สุดในบรรดาสินทรัพย์เสี่ยง โดยราคาทองคำปรับขึ้นได้ในช่วงสั้นก่อนจะปรับลดลงในช่วงปลายเดือน ม.ค. ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องราว 15%YTD โดยมาจากหลายปัจจัย เช่น อุปสงค์การใช้น้ำมันช่วงหน้าหนาวที่เร่งตัวในขณะที่อุปทานน้ำมันยังตึงตัว และจากเหตุการณ์กลุ่มกบฏฮูตีในเยเมนที่ได้ยิงขีปนาวุธโจมตีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งไม่ได้มาจากเรื่องความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม SCB CIO มองว่าประเด็นรัสเซีย-ยูเครนมีส่วนสร้าง sentiment เชิงบวกต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้จากการที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกในส่วนของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แพลเลเดียมและนิกเกิล ในขณะที่ยูเครนเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในส่วนของข้าวโพดและข้าวสาลี มองราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันและสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับสูงในช่วงสั้น

SCB CIO ยังคงแนะนำทยอยลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปได้ต่อ เนื่องจากมองดัชนี Europe STOXX 600 ยังมี 2022 EPS growth ในระดับที่สูงราว 7-8% และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงมีแนวโน้มปรับนโยบายการเงินตึงตัวช้ากว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และคาดความผันผวนในตลาดการเงินโลกจากประเด็นความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครนจะสูงเพียงระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ นักลงทุนที่มีการถือครองตราสารหนี้และหุ้นธนาคารในยุโรป เช่น Raiffeisen, OTP Bank, UniCredit, Societe Generale และ ING ควรต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากธนาคารเหล่านี้มีการดำเนินธุรกิจผ่านการปล่อยกู้และรับรู้รายได้บางส่วนจากรัสเซีย แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปไม่รุนแรง เนื่องจาก ECB ประกาศเพิ่มมาตรการรองรับสำหรับธนาคารยุโรปที่อาจได้รับผลกระทบข้างต้นแล้ว โดยมีการเร่งเตรียมเงินสำรองให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงและความผันผวนด้านสภาพคล่องและเครดิตที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า