ผู้เขียน หัวข้อ: SIRI ออกหุ้นกู้ลดความเลื่อมล้ำการศึกษาอายุ 3 ปี  (อ่าน 391 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
SIRI ออกหุ้นกู้ลดความเลื่อมล้ำการศึกษาอายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 3.20% ขาย 15-18 ก.พ.

นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ (SIRI) เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนออกหุ้นกู้วงเงิน 100 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.20% ต่อปี โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา ภายใต้วิสัยทัศน์และเป้าหมายเดียวกัน ในความตั้งใจที่จะ "สร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา" ด้วยการประกาศพันธกิจในโครงการ "Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน" โดยจะเปิดจองซื้อหุ้นกู้ในวันที่ 15-18 ก.พ. 65 เวลา 8.30 น. ผ่าน SCB Easy App เท่านั้น โดยที่เงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับผู้ซื้อหุ้นกู้แสนสิริจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

"เงิน 100 ล้านบาท ที่ได้จากการระดมทุนอาจไม่สามารถช่วยเหลือเด็กทั้งประเทศได้ แต่จะนับเป็นการจุดประกายในการสร้างความหวังให้เกิดการลงมือทำ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของเราในครั้งนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมให้ภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ หันมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ และเมื่อถึงวันนั้นความหวังที่เด็กทั้งประเทศจะหลุดออกจากระบบการศึกษาเป็น ?ศูนย์? คงเป็นอนาคตที่ไม่ไกลเกินไปนัก" นายเศรษฐา กล่าว
บริษัทได้วางพันธกิจใหญ่ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ระยะยาว 3 ปี สำหรับการใช้ในโครงการ Zero Dropout ครั้งแรกในเอเชีย ที่นำร่องที่จังหวัดราชบุรี เนื่องจากมีเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาประมาณ 10,000 คน ซึ่งเหมาะสมกับเงินระดมทุน 100 ล้านบาท รวมทั้งยังมีปัญหาที่หลากหลายด้านความเหลื่อมล้ำในการศึกษาจากภูมิศาสตร์จังหวัดติดชายแดนที่มีสภาพทั้งแบบชุมชนและเมือง

ขณะที่ราชบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ ที่ทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมช่วยเหลือเด็กได้โดยง่าย โดยแสนสิริไม่มีการพัฒนาโครงการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ดังกล่าว ทำให้มีความโปร่งใส และยังสามารถตรวจสอบได้ ผ่านบัญชี Escrow Account ของธนาคารไทยพาณิชย์ ในชื่อ "บมจ.แสนสิริ เพื่อสนับสนุนโครงการร่วมกับ กสศ." ซึ่ง กสศ. จะมีการจัดทำแผนรายปี และเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการ Zero Dropout ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง

เป้าหมายของโครงการ "Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน" คือ การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ระยะยาว 3 ปี ครอบคลุมการพัฒนาในทุกด้านทั้งการเข้าถึง คุณภาพการศึกษา และความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าให้เด็กต้องอยู่ในระบบการศึกษาในช่วงวัยภาคบังคับ (ป.1-ม.3) และเด็กที่ถึงเกณฑ์ ต้องพร้อมเข้าเรียน ป.1 ได้ 100% โดยมีแผนดำเนินการเริ่มตั้งแต่ปี 65 นำร่องใน 3 อำเภอ ได้แก่ สวนผึ้ง จอมบึง และบ้านคา จากนั้นในปี 66 จะขยายไปอีก 4 อำเภอ และในปี 67 อีก 3 อำเภอ เพื่อช่วยเหลือทั้งเด็กปฐมวัย และเด็กนอกระบบกว่า 11,200 คนที่เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาในจังหวัดราชบุรีให้เป็น "ศูนย์" รวมทั้งสนับสนุนทุนทรัพย์ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าระบบการศึกษา (อัตรา 4,000 บาท/คน) จากนั้นจึงส่งต่อสู่กลไกของจังหวัดสานต่อการทำงานในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป

นายไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลโดยการสำรวจของกสศ. พบว่า ปัจจุบันมีตัวเลขนักเรียนยากจนทั่วประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาถึง 1.9 ล้านคน มาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลัก สังเกตได้จากรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษลดต่ำลงมากจาก 1,289 บาทช่วงก่อนโควิด-19 มาเป็น 1,094 บาท/ครัวเรือนเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนยากจนและยากจนพิเศษมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกเทอมจาก 994,428 คนเมื่อปี 63 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,244,591 คนในภาคเรียนที่ 1 ปี 64 และยังพบว่า นักเรียนที่ไม่เรียนต่อ หรือ นักเรียนยากจนพิเศษ หลุดจากการศึกษาสูงถึง 43,060 คน จาก 54,842 คน หรือ 4.67% ในชั้น ม.3/ ป.6/ และชั้นอนุบาล ตามลำดับ

นอกจากนี้ กสศ. ยังได้วิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนทุนเสมอภาคในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ประสบปัญหาในการเรียนช่วงโควิด พบว่ามีนักเรียนที่เจอปัญหาในการเรียนออนไลน์ถึง 271,888 คน ทั้งจากการที่ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งไม่มีไฟฟ้า โดยความช่วยเหลือที่นักเรียนและผู้ปกครองต้องการได้รับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ค่าครองชีพและของจำเป็น 71.45% รองลงมาเป็นอาหารเช้า/อาหารกลางวัน 35.28% และค่าเดินทาง 28.79% ที่สำคัญที่สุดยังพบว่า เด็กเยาวชนจากครัวเรือนยากจน และยากจนพิเศษ ส่วนใหญ่หลุดออกจากระบบการศึกษา ก่อนที่จะมีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือมัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า โดยไม่ได้เข้าเรียนปริญญาตรีสูงถึง 94.7%