ผู้เขียน หัวข้อ: PTC บิ๊กคลังน้ำมันอีสานโตบน S-Curve พลังงาน  (อ่าน 393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
PTC บิ๊กคลังน้ำมันอีสานโตบน S-Curve พลังงาน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2022, 04:06:45 pm »
IPOInsight: PTC บิ๊กคลังน้ำมันอีสานโตบน S-Curve พลังงาน

บมจ.พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น (PTC) เดินหน้าเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อวันที่ 4-8 ก.พ.65 ก่อนนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในเดือน ก.พ.นี้ ชูศักยภาพวางยุทธศาตร์ระยะยาวด้วยการนำเทคโนโลยีต่อยอดคลังน้ำมัน ปูทางแตกไลน์ขยายเข้าสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้า ตอบโจทย์ดีมานด์การใช้พลังงานประเทศไทยในอนาคต

ปัจจุบัน PTC มีทุนจดทะเบียน 205 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยมีทุนเรียกชำระแล้ว 150 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300 ล้านหุ้น และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 110 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 26.83% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท

PTC แต่งตั้ง บล.ฟินันซ่า เป็นผู้จัดการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้น IPO พร้อมผู้ร่วมจัดจำหน่าย ประกอบด้วย บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.เอเชีย เวลท์ และ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย))

*ประสบการณ์กว่า 20 ปีสู่ผู้นำคลังน้ำมันภาคอีสาน

นายวีรวัฒน์ บูรพพัฒนพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTC เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับหนึ่งในธุรกิจคลังน้ำมันพื้นที่ภาคอีสานตอนบน-ล่าง ซึ่งจากการสั่งสมประสบการณ์ในธุรกิจขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางบกและสถานีบริการน้ำมันมากว่า 20 ปี ทำให้มีความเข้าใจในธุรกิจได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเข้าใจระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมพลังงานทำให้มีพัฒนาการทางธุรกิจที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน PTC ดำเนินธุรกิจ 2 รูปแบบ คือ บริการรับ เก็บ และจ่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปประเภทเบนซินและดีเซล ซึ่งให้บริการที่คลังน้ำมันจังหวัดขอนแก่นความจุ 9 ล้านลิตร มีความสามารถรับและจ่ายน้ำมันได้สูงสุดประมาณปีละ 830 ล้านลิตร และคลังน้ำมันจังหวัดศรีสะเกษ ความจุ 9.7 ล้านลิตร สามารถรับและจ่ายน้ำมันสูงสุดประมาณปีละ 770 ล้านลิตร

และรูปแบบที่ 2 คือ บริการผสมน้ำมันเชื้อเพลิงพื้นฐานตามสูตรที่ลูกค้าต้องการ โดยให้บริการที่คลังศรีสะเกษ ส่งผลให้ PTC เป็นผู้ให้บริการที่มีบทบาทสำคัญการกระจายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับสถานีบริการน้ำมันครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน-ล่าง

"จุดเริ่มต้นของ PTC เกิดจากความเป็นธุรกิจครอบครัว เริ่มต้นจากธุรกิจขนส่งน้ำมันทางบกเน้นฐานลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และโลจิสติกส์ รวมถึงยังเคยเป็นเจ้าของสถานีค้าปลีกน้ำมัน จึงทำให้มีความเข้าใจซัพพลายเชนมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เป็นที่มาของการจัดตั้งธุรกิจคลังน้ำมันที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ผลักดันการเติบโตผลประกอบการตลอดหลายปีที่ผ่านมา"นายวีรวัฒน์ กล่าว
*โควิดคลี่คลายหนุนวอลุ่มน้ำมันฟื้นปี 65

นายวีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า แม้ว่าการแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วงเริ่มต้นในปี 63 จะกระทบกับกิจการทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันลดลงไปบ้าง แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มผ่อนคลายทำให้ภาพรวมผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังของปี 63 ยอดปริมาณการใช้น้ำมันกลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้รายได้ตลอดทั้งปี 63 สามารถเติบโตทำสถิติสูงสุดใหม่

ส่วนปี 64 ยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการะบาดรอบใหม่ร้ายแรงกว่าปีก่อนหน้า แต่บริษัทก็วางกลยุทธ์ควบคุมค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในด้านต่างๆ ทำให้กำไรสุทธิตลอดปี 64 ลดลงจากปี 63 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สะท้อนถึงความสามารถบริหารจัดการภายในและรักษาขีดความสามารถแข่งขันได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ปี 65 ก็เริ่มสัญญาณการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้น้ำมันอย่างชัดเจน แม้ว่าการแพร่ระบาดโอมิครอนจะยังไม่สิ้นสุด แต่มุมมองของคนส่วนใหญ่เริ่มเชื่อว่าใกล้จะเป็นจุดจบของสถานการณ์แพร่ระบาด จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นกิจกรรมสัญจรให้มีมากขึ้น เชื่อว่าจะสนับสนุนผลประกอบการให้เติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ

"ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเรามี ROE เติบโตขึ้นเฉลี่ย 12% ในช่วงปี 61-64 นับเป็นอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง ซึ่งธุรกิจของบริษัทมีศักยภาพทำกำไรค่อนข้างดี เพราะส่วนหนึ่งคลังน้ำมันหลักตั้งอยู่ในโลเคชั่นที่ดีสนับสนุนให้ผู้ค้าปลีกน้ำมันสามารถประหยัดต้นทุนด้านขนส่งได้เป็นอย่างดี ขณะที่การบริหารจัดการคลังน้ำมันได้นำเทคโนโลยีเข้ามาต่อยอดหลายๆด้าน สามารถรักษาและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ"นายวีรวัฒน์ กล่าว
*เข้าตลาดหุ้นแตไลน์รุกธุรกิจโรงไฟฟ้าเสริมแกร่งรายได้ประจำ

สำหรับแผนการใช้เงินระดมทุนครั้งนี้ นายวีรวัฒน์ เปิดเผยว่า บางส่วนนำไปชำระหนี้สถาบันการเงินและไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจในอนาคต โดยบริษัทวางเป้าหมายการดำเนินธุรกิจไว้ 3 แนวทางด้วยกัน ประกอบด้วย

1.การเพิ่มประสิทธิภาพรับ-จ่ายน้ำมัน รองรับวิธีการขนส่งน้ำมันหลากหลาย โดยวางแผนสร้างจุดรับน้ำมันทางรถไฟที่คลังศรีสะเกษ เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสปริมาณขนส่งเพิ่มมากขึ้นในอนาคตตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ขณะเดียวกันยังเป็นส่วนช่วยลดต้นทุนการขนส่งของลูกค้าจากปัจจุบันที่เคยขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุก พร้อมเพิ่มจำนวนสถานีบริการที่มารับน้ำมันจากคลังของบริษัทในอนาคต นอกจากนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบพลังงานเพื่อให้ทุกพื้นที่มีโอกาสเข้าถึงพลังงานอย่างเท่าเทียมกัน

และสุดท้ายคือการแตกไลน์เข้าไปลงทุนในธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการที่มีศักยภาพ อาทิ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน, โรงไฟฟ้าขยะ และโซลาร์เซลล์ เพื่อกระจายฐานรายได้และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

"แม้ว่าเราจะทำธุรกิจคลังน้ำมันเป็นหลัก แต่ด้วยความถนัดการทำธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำเป็นที่มาของการเข้าไปศึกษาแตกไลน์ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ นับเป็นการต่อยอดเพิ่มความแข็งแกร่งสร้างการเติบโตระยะยาวตอบโจทย์เมกะเทรนด์ของแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้าที่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต"นายวีรวัฒน์ กล่าว