ผู้เขียน หัวข้อ: ฟุตซี่ปิดบวก 57.07 จุด หุ้นแบงก์-เหมืองแร่ปรับตัวขึ้นนำตลาด  (อ่าน 355 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดบวก 57.07 จุด หุ้นแบงก์-เหมืองแร่ปรับตัวขึ้นนำตลาด

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกในวันจันทร์ (7 ก.พ.) นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งได้แรงหนุนจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวขึ้น เนื่องจากราคาโลหะปรับตัวแข็งแกร่ง

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,573.47 จุด เพิ่มขึ้น 57.07 จุด หรือ +0.76%

หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้น โดยหุ้นเอชเอสบีซี, หุ้นบาร์เคลย์ และหุ้นลอยด์ กรุ๊ป พุ่งขึ้นราว 2% โดยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ

หุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นริโอ ตินโต ปรับตัวขึ้น หลังราคาอะลูมิเนียมในจีนพุ่งขึ้น 3% ขณะที่สัญญาเหล็กกล้าและแร่เหล็กในตลาดเซี่ยงไฮ้ปรับตัวขึ้นด้วยขานรับความหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นด้วย โดยหุ้นเชลล์ บวก 1.2% หลังโบรกเกอร์หลายรายปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของหุ้นเชลล์ และหุ้นบีพีบวก 0.7% หลังราคาน้ำมันพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี

ภาวะตลาดหุ้นอินเดีย: ดัชนี Sensex ดิ่งกว่า 1,000 จุด ทรุดหนักสุดรอบ 2 สัปดาห์

ดัชนี Sensex ตลาดหุ้นอินเดียดิ่งลงกว่า 1,000 จุดในวันนี้ โดยดัชนีทรุดตัวลงหนักที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ และปรับตัวลงเป็นวันทำการที่ 3 ติดต่อกัน ท่ามกลางความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ ดัชนี S&P BSE Sensex ปิดตลาดที่ 57,621.19 ลบ 1,023.63 จุด หรือ 1.75%

หุ้นกลุ่มธนาคารดิ่งลงนำตลาดวันนี้

ตลาดหุ้นเอเชียเผชิญการไหลออกของเงินทุนต่างชาติจำนวนมากในเดือนม.ค. ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรงกว่าที่คาดไว้

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Refinitiv ระบุว่า นักลงทุนต่างขาติขายสุทธิหุ้นเอเชียมูลค่า 8.41 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการไหลออกของกระแสเงินทุนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2564 โดยมีการเทขายในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินเดีย ส่งผลให้ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ดิ่งลง 4.36% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน

ต่างชาติเทขายสุทธิหุ้นอินเดียมากที่สุดในภูมิภาค คิดเป็นมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นวงเงินสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ขณะที่หุ้นอินเดียเริ่มมีราคาแพง ส่งผลให้นักลงทุนเข้าทำกำไรหลังราคาหุ้นพุ่งแรงตั้งแต่ปีที่แล้ว