ผู้เขียน หัวข้อ: BBGI หุ้นธีมแห่งอนาคตผ่าเส้นทางสู่ผู้นำไบโอเทคฯ  (อ่าน 370 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • *
  • กระทู้: 1,059
  • Popular Vote : 0


บมจ.บีบีจีไอ (BBGI) นับเป็นหนึ่งในหุ้น IPO ที่มีกระแสการตอบรับเป็นอย่างดีในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 เดินหน้าระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ด้วยศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่นจากการเป็นผู้นำธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศไทย และด้วยจุดแข็งทางธุรกิจอีกหลายด้าน เช่น การนำเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงมาพัฒนาต่อยอดสู่การขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงเสริมแกร่งด้านศักยภาพการเติบโตของกำไรในระยะยาว

นอกจากนั้น BBGI ยังคงมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นหลัก คือ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) และ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) ภายใต้ความร่วมมือของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานและการเกษตร มีเป้าหมายดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล ไบโอดีเซล และผลิตภัณฑ์พลอยได้ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เล็งต่อยอดสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงสู่การขยายธุรกิจวัสดุชีวภาพและเคมีชีวภาพ พร้อมตั้งเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศ

*เรือธงกลุ่ม BCP-KSL เน้นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง

นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ BBGI เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า BBGI จะก่อตั้งมาเกือบ 5 ปีจากความร่วมมือกันระหว่าง 2 กลุ่มคือ BCP และ KSL จัดตั้งบริษัทร่วมทุนคือ BBGI เมื่อปี 2560 เพื่อดำเนินธุรกิจไบโอเอทานอลและไบโอดีเซล

ปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวม 1,600,000 ลิตรต่อวัน ประกอบด้วย 4 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานของ บมจ.เคเอสแอล กรีน อินโนเวชั่น (KGI) ผู้ผลิตและจำหน่ายเอทานอลที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต และโรงงานของ บริษัท บางจากไบโอเอทานอล (ฉะเชิงเทรา) จำกัด (BBE) ผู้ผลิตและจำหน่ายเอทานอลโดยใช้มันสำปะหลังสดและมันสำปะหลังเส้นเป็นวัตถุดิบในการผลิต

รวมถึงโรงงานของ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) ผู้ผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลโดยใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต และบริษัท บีบีจีไอ ยูทิลิตี้ แอนด์ เพาเวอร์ จำกัด (BUP) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน

"แม้ว่า BBGI จะก่อตั้งเพียง 5 ปี แต่มาด้วยจุดแข็งของ 2 กลุ่มผู้ถือหุ้นหลักคือ KSL คือผู้เริ่มต้นผลิตเอทานอลรายแรกๆของประเทศไทย เช่นเดียวกับกลุ่ม BCP เป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลรายหลักของประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน KSL จะเป็นผู้ส่งวัตถุดิบหลักประเภทโมลาสที่มาจากอ้อยในการใช้ผลิตเอทานอล ส่วนกลุ่ม BCP เป็นธุรกิจปลายน้ำที่นำไปเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก"นายกิตติพงศ์ กล่าว
*เข้าตลาดหุ้นต่อยอดสู่ผู้นำไบโอเทคฯ

แผนการะดมทุนในครั้งนี้ BBGI จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนในโครงการต่างๆ ทั้งของบริษัทเองและบริษัทย่อยเพื่อขยายกิจการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ส่วนที่เหลือจะใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

นายกิตติพงศ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทเปิดโอกาสขยายฐานธุรกิจใหม่ต่อยอดธุรกิจหลักด้วยการร่วมมือกับพันธมิตร ปัจจุบันได้ขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง ด้วยการลงทุนใน Manus Bio Inc. ผู้นำธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลก โดยตั้งบริษัทร่วมทุน WIN Ingredients และวางแผนตั้งโรงงาน Syn Bio ผลิต Multi-Products แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมาสู่การวางเป้าหมายขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจไบโอเทคโนโลยี New S-Cuve ของประเทศไทยและเป็นเมกะเทรนด์ที่ต้องการของตลาดทั่วโลก

"ผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำร่องร่วมกับ Manus Bio คือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลสกัดจากหญ้าหวาน แต่มีรสชาติคล้ายกับน้ำตาล เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 30-60% ขณะที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกันเพื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ทั่วโลกที่หันมารักสุขภาพกันมากขึ้นด้วย"นายกิตติพงศ์ กล่าว
บริษัทยังสนใจที่จะพัฒนาอีก 2-3 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม flavour and fragrance, สารที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพราะสิ่งที่ BBGIกำลังมุ่งหน้าไป คือ สินค้าประเภท High Value Added Product ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และ Wellbeing ซึ่งความหลากหลายของผลิตภัณฑฺ์ดังกล่าวยังมีอีกค่อนข้างมาก โดยพันธมิตรอยู่ระหว่างวิจัยและพัฒนาตวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ละตัวจะมีดีมานด์ที่ค่อนข้างหลากหลายเช่นกัน เป็นการใช้ไบโอเทคโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนสินค้าในธรรมชาติที่มีราคาแพง

"อย่างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Health and Wellness ในประเทศมีมูลค่าตลาดกว่า 1.8 แสนล้านบาท ถ้ามองแค่ในแง่สินค้า Supplement อย่างเดียวก็หลายหมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นจะเป็นโอกาสที่เป็น choice ที่ให้ consumer เองได้เลือกสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเขา ตัวมาร์จิ้นกลุ่มพวกนี้อยู่ใน range 30-60% ขณะที่ Biofuel มาร์จิ้นอยู่ที่ประมาณแค่ 10%"นายกิตติพงศ์ กล่าว
สำหรับผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี BBGI มีรายได้เติบโตต่อเนื่องในปี 61-63 จำนวน 9,802 ล้านบาท 10,060 ล้านบาท และ 12,620 ล้านบาท ตามลำดับ จากธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายมากขึ้นตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของโรงงานผลิตเอทานอลและไบโอดีเซล รวมไปถึงการจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม และเกรดเภสัชกรรมเพื่อนำไปผลิตเจลแอลกอฮอล์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ขณะที่กำไรสุทธิเติบโตต่อเนื่อง 200 ล้านบาท 450 ล้านบาท และ 1,112 ล้านบาทตามลำดับ

ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของปี 64 บริษัทมีรายได้รวม 10,122 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.63% และมีกำไรสุทธิ 1,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.27% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 65 บริษัทเน้นการขยายธุรกิจในส่วนต่างๆและพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง รองรับความ ต้องการขยายตัวมากขึ้น เพื่อกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมรายได้ในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

*เคาะจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ถือหุ้น BCP-KSL

การเสนอขายหุ้น IPO ของ BBGI ครั้งนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 433.20 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 2.50 บาท คิดเป็นไม่เกิน 30% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดล่าสุดสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 แบบไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อย โดยการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BBGI แบ่งเป็น

1.) จัดสรรหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 108.30 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) และ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights)

2.) จัดสรรหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวนไม่เกิน 324.90 ล้านหุ้น และหุ้นในส่วนที่เหลือจากการเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นของ BCP และ KSL เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้น เพื่อเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป

นอกจากนี้ ยังจัดสรรหุ้นสามัญส่วนเกิน (Over-Allotment) จำนวนไม่เกิน 43.32 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 10% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่เสนอขายในครั้งนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิจัดสรรหุ้นเกินกว่าจำนวนที่เสนอขาย (หากมีการใช้สิทธิ) อีกด้วย