ผู้เขียน หัวข้อ: LPN ปรับยุทธศาสตร์ปี 65-69 เปิดกว่า 70 โครงการใหม่  (อ่าน 354 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
LPN ปรับยุทธศาสตร์ปี 65-69 เปิดกว่า 70 โครงการใหม่ ดันรายได้ 1.6 หมื่นลบ.

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวล ลอปเมนท์ (LPN) เปิดเผยว่า บริษัทปรับโครงสร้างภายในและปรับแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในช่วงปี 64 ด้วยการปรับเปลี่ยนมาใช้แผน 5 ปี (ปี 65-69) เป้าหมายสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทภายในปี 69 ด้วยการวางแผนการพัฒนาโครงการใหม่ตั้งแต่ปี 65-69 จำนวนไม่น้อยกว่า 70 โครงการ มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ยอดขายรวมสะสม 5 ปี ไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท

ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ บริษัทยังคงเป้าหมายการเติบโตทั้งด้านรายได้ กำไร ผ่านการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพโดยการใช้ข้อมูล (Big Data) มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) เพื่อการพัฒนาทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารชุดพักอาศัย ให้มีฟังก์ชันการใช้งาน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าในทุกมิติให้เป็นที่พักอาศัยภายใต้แนวคิด "น่าอยู่" (Livable Home) ในระดับราคาที่เหมาะสม (Affordable Price) ต่อยอดจากแนวคิด "ชุมชนน่าอยู่" เพื่อให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยเหมาะสมกับการขยายกลุ่มลูกค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่ (Young Generation)

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ บริษัทได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร รวมไปถึงการปรับแนวคิดในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Digital Transform) เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัวในการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย และต้นทุนในการดำเนินงาน ยกระดับบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร

สำหรับปี 65 บริษัทมีเป้าหมายยอดขายในปี 65 ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% เมื่อเทียบกับยอดขายที่ 8.9 พันล้านบาทในปี 64 โดยจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 16 โครงการ มูลค่ารวม 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นโครงการอาคารชุดพักอาศัย 5 โครงการ มูลค่า 7 พันล้านบาท เน้นความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กระจายไปในทำเลต่างๆ และโครงการบ้านพักอาศัยระดับราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท จำนวน 10 โครงการ มูลค่า 3.3 พันล้านบาท และโครงการบ้านพักอาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาท 1 โครงการ มูลค่า 700 ล้านบาท โดยมีงบลงทุนซื้อที่ดิน 4 พันล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในปี 65-66 นายโอภาส กล่าวอีกวา ปี 65 จึงเป็นปีของการเปลี่ยนแปลง (Year of Business Transformation) ที่สำคัญใน 5 ประเด็นคือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ (Corporate Transformation), การบริหารจัดการ (Management Transformation), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาโครงการ (Project Development Transformation), การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation), และการสร้างแบรนด์ (Brand Transformation)

ในปีนี้บริษัทมีการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยแยกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับธุรกิจบริการออกจากกันเพื่อให้มีความชัดเจนในการบริหารจัดการ และเพื่อประโยชน์ในการขยายธุรกิจในอนาคต ภายใต้โครงสร้างธุรกิจใหม่ LPN มุ่งเป็นนักพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งอาคารชุดพักอาศัย และบ้านพักอาศัย รายได้หลักมาจากการขายที่อยู่อาศัย ขณะที่ธุรกิจบริการ บริหารจัดการโครงการ ดำเนินการโดย บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) มีนายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่ง LPN ยังคงถือหุ้นใน LPP 100% ขณะที่ LPP สามารถที่จะบริหารงานได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะการสร้างโอกาสในธุรกิจบริการใหม่ๆ

โดยกลุ่มบริษัท LPN ทั้งในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ และธุรกิจบริการ ตั้งเป้าหมายการเติบโตต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี ทั้งในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ และธุรกิจบริการ

"การปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจอสังหาฯ สามารถที่จะขยายงานและสร้างพันธมิตรธุรกิจใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันด้านงานบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์โดย LPP ก็สามารถที่จะขยายขอบเขตงานบริการและฐานลูกค้า รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น" นายโอภาส กล่าว
การปรับโครงสร้างการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่องจากปี 64 จากโครงสร้างการทำงานตามหน้าที่ (Functional Organization) สู่การบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) แบ่งออกเป็น 3 หน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย หน่วยธุรกิจรับผิดชอบการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย หน่วยธุรกิจรับผิดชอบในการพัฒนาบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และหน่วยธุรกิจรับผิดชอบในการพัฒนาบ้านพักอาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาโครงการในแต่ละหน่วยธุรกิจมีความคล่องตัวทั้งเรื่องการออกแบบและการพัฒนาโครงการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อในแต่ละกลุ่ม (Segment) ได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการมากขึ้น

สำหรับแผนพัฒนาโครงการที่พักอาศัยทั้งอาคารชุดพักอาศัย และบ้านพักอาศัยในปี 65 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของคนรุ่นใหม่ ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Uniqueness) โดยการพัฒนาโครงการที่มีขนาดเล็กลง มีการออกแบบภายใต้แนวคิดของ "LPN Design" เพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด "น่าอยู่" (Livable Home) เหมาะกับคนรุ่นใหม่ และคนทุกวัยในครอบครัว

นอกจากนั้น จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 62 มาถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรวบรวมข้อมูลของลูกค้าใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์กับทุกความต้องการของลูกค้า ต่อเนื่องมาถึงปี 65 เป็นปีที่บริษัทต่อยอดในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านการตลาดและการขาย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าเยี่ยมชมโครงการแบบไร้สัมผัสผ่าน 3-D Virtual ในแบบ 360 องศา โดยเริ่มทดลองใช้ในปี 64 และจะนำมาใช้เพิ่มขึ้น รวมถึงการนำข้อมูลความต้องการของลูกค้า (Big Data) มาวิเคราะห์และพัฒนาโครงการและงานบริการที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันและลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ในอนาคต

นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้แบรนด์ของ LPN ในฐานะผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิด "น่าอยู่" (Livable Home) ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุประมาณ 25-35 ปี (Gen Y) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เริ่มต้นทำงาน (First Jobber) สร้างธุรกิจเอง (Entrepreneur) รวมไปถึงกลุ่ม Startups โดยมีแผนที่จะเปิดตัวแบรนด์ใหม่ทั้งอาคารชุดพักอาศัย และบ้านพักอาศัย ในปี 65

"การปรับเปลี่ยนใน 5 ประเด็นการดำเนินธุรกิจดังกล่าว มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนองค์กรของ LPN ในปัจจุบันและอนาคต ทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัว และสามารถรักษาอัตราการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องโดยตั้งเป้าหมายการเติบโตไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี ถึงแม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ในอนาคต" นายโอภาส กล่าว
แนวโน้มของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 65 มองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 64 ในขณะที่ในปี 65 เป็นปีที่ตลาดจะฟื้นตัวหลังจากที่มีอัตราการเปิดตัวโครงการใหม่ติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 62-64 เนื่องจากจำนวนสินค้าคงเหลือในระบบลดลงจากแคมเปญทางการตลาดที่กระตุ้นกำลังซื้อในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯต้องเร่งเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 65 เพื่อทดแทนกับสินค้าที่มีจำนวนที่ลดลง

ขณะที่มาตรการของรัฐบาลทั้งการลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองและการโอนเหลือ 0.01% รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้ประกาศมาตรการการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) เป็นการชั่วคราว โดยกำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็น 100% ซึ่งมีผลจนถึงสิ้นปี 65 และอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ยังต่ำ เป็นปัจจัยกระตุ้นในตลาดอสังหาฯในปี 65 มีแนวโน้มที่จะเติบโต 5-15% เมื่อเทียบกับปี 64

อย่างไรก็ตามในปี 2565 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ภาคธุรกิจอสังหาฯต้องระมัดระวัง เช่น ภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงแตะระดับ 90% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่จะกระทบกับกำลังซื้อ และความสามารถในการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงิน ความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมไปถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน(Omicron)" ที่จะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยากจะคาดการณ์ได้