ผู้เขียน หัวข้อ: TTB เปิดตัวบัญชี multi-currency เสริมแกร่งธุรกิจ  (อ่าน 305 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
TTB เปิดตัวบัญชี multi-currency เสริมแกร่งธุรกิจ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2022, 09:51:20 pm »
TTB เปิดตัวบัญชี multi-currency เสริมแกร่งธุรกิจนำเข้าและส่งออกยุคดิจิทัล

นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงิน ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงได้พัฒนาดิจิทัลโซลูชันทางการเงิน เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก เพื่อลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการหลายสกุลเงิน คือ ttb multi-currency account หรือ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด เพื่อธุรกิจนำเข้าและส่งออก ยกระดับประสบการณ์การใช้งานดิจิทัล ครบทุกขั้นตอน แบบ end-to-end อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง บริหารงานสะดวก ใช้งานง่าย ครบ จบในระบบเดียว

บัญชี ttb multi-currency account มีฟีเจอร์การใช้งานที่โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์ 4 One คือ

One Account ? บัญชีเดียว รองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลัก รวมถึงสกุลเงินหยวน

One Platform ? เข้าถึงทุกบริการ จากทุกอุปกรณ์ ประสบการณ์เดียวกันทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทำทุกธุรกรรม ได้ทุกที่ทุกเวลา

One to Control ? ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม โอนเงินได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกรรมด้านสินเชื่อ ติดตามอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา พร้อมล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ต้องการ ค้นหารายการได้ง่ายขึ้น ด้วย Smart Search แค่พิมพ์ Key Word และติดตามสถานะของรายการได้แบบเรียลไทม์

One to Command ? สรุปรายงานของทุกบัญชี ทุกสกุลเงินได้ภายในหน้าเดียว (11 สกุลเงิน) พร้อมดาวน์โหลดเอกสารได้ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก สามารถสรุปทุกวงเงินสินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครบถ้วนในหน้าจอเดียว รวมทั้งเรียกดูข้อมูลและบัญชีของบริษัทในเครือได้ด้วย Group Company View

บัญชี ttb multi-currency account จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าและส่งออก สามารถบริหารจัดการเรื่องสกุลเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายด้านในด้านความสะดวกและคล่องตัว ได้แก่

1. รองรับ 11 สกุลเงินหลักภายในบัญชีเดียว

2. สามารถซื้อ ขาย รับ จ่าย ได้อย่างสะดวกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. แลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศไว้ล่วงหน้าได้

4. โอนเงินสกุลต่างประเทศออกได้ทันที

นอกจากนี้ยังต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ จากการที่ผู้ประกอบการจะรับดอกเบี้ยเงินฝากต่างประเทศทันทีเมื่อมีเงินโอนเข้า และการการใช้เพียงเลขที่บัญชีเดียวในการบริหารจัดการกับคู่ค้า แทนที่จะมีหลายเลขที่บัญชี FCD ให้ยุ่งยาก ประกอบกับลูกค้าสามารถรับรู้ภาพรวมธุรกิจทำให้ควบคุมธุรกิจได้ เพราะ มีการแจ้งเตือนทุกรายการ เงินโอนเข้า-ออกและรายการแลกเปลี่ยนสกุลเงินทาง E-mail notification และสามารถเรียกดูสรุปทุกสกุลเงินได้ใน Statement เดียว ได้ตลอดเวลา โดยปัจจุบันทีเอ็มบีธนชาตประสบความสำเร็จในการนำเสนอผลิตภัณฑ์นี้อย่างมาก และคาดว่าในปี 65 นี้จะสามารถเพิ่มจำนวนบัญชีได้อีก 400-500 บัญชี

"ธนาคารเชื่อมั่นว่า ttb multi-currency account จะเป็นบัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด เพื่อธุรกิจนำเข้าและส่งออก ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารจะยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านการพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน และพร้อมเป็นพันธมิตรที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจลูกค้าในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน" นายศรัณย์ กล่าว
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb analytics) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.9% ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง การส่งออกที่เติบโตดี และการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่ง ttb analytics คาดการณ์มูลค่าส่งออกทั้งปี 65 ในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ 4.5% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เกิดจากการปรับสูงขึ้นของราคาพลังงานและปัญหา Supply Disruption คาดว่าจะผ่อนคลายในช่วงครึ่งปีหลัง ประเมินอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปียังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ระดับ 1.8%

สำหรับตลาดเงินนั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวอยู่ในระดับ 0.5% เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเด็นเงินเฟ้อและการระบาดโควิด-19 ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา คาดการณ์กรอบเป้าหมายเงินบาทในปี 65 ที่ระดับ 33.0-34.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนสูงตลอดปีจากกระแสเงินทุนภายในและภายนอกประเทศ