ผู้เขียน หัวข้อ: THCOM มั่นใจปี 65 มีกำไรพร้อมลุยสร้างดาวเทียมใหม่  (อ่าน 294 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jenny937

  • *
  • กระทู้: 644
  • Popular Vote : 0
THCOM มั่นใจปี 65 มีกำไรพร้อมลุยสร้างดาวเทียมใหม่-หาพันธมิตรเสริมจุดแข็ง

นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม (THCOM) เปิดเผยว่า จากนี้บริษัทจะเดินหน้าขยายธุรกิจดาวเทียมที่มองว่ายังมีโอกาสมากมาย รวมถึงธุรกิจอวกาศ (Space) และ ดิจิทัล เนื่องจากบริษัทมีเสถียรภาพพร้อมทางการเงินและด้านโอกาสใหม่ทางธุรกิจ โดย ณ สิ้นปี 64 มีเงินสดกว่า 4 พันล้านบาทหลักหักค่าใช้จ่ายและเงินกู้แล้ว

ขณะเดียวกัน ภาระค่าเสื่อมราคาก็ปรับลดลงหลังจากดาวเทียมไทยคม 4 และไทยคม 6 สิ้นสุดสัมปทานที่มีค่าใช้จ่าย 800-900 ล้านบาทต่อปี และบริษัทเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในการดำเนินการ โดยจะเห็นว่ากำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 4/64 พลิกมาเป็นบวก และคาดว่าจะยังรักษากำไรได้อย่างต่อเนื่อง

ในปี 65 รายได้และกำไรของบริษัทอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน หลังจากที่บริษัทสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว แต่เชื่อมั่นว่าในปี 65 บริษัทจะสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจดาวเทียม (Satelite) ซึ่งเป็นธุรกิจหลักมีสัดส่วนมากกว่า 95% และคาดภายใน 1-3 ปีข้างหน้าคาดว่ารายได้ Non Satelite มีสัดส่วนอย่างน้อย 25% ของรายได้รวม ขณะที่งบลงทุนในปีนี้จะใช้สำหรับปรับปรุงดาวเทียมให้มีประสิทธิภาพ ราว 50-60 ล้านบาท

"เรามองว่าปี 65 อยู่ในช่วง Transition Period ดังนั้น รายได้และกำไรอยู่ในช่วง Transition อยู่ แต่เราเชื่อมั่นว่าจะสร้างกำไรได้ต่อเนื่องในปี 65...เรามุ่งมั่นบริษัทต้องโตใน 3 ปีแต่จะโตเท่าไหร่ต้องติดตามดู เราจะมุ่งบริหารกำไร และก็สร้างธุรกิจใหม่ที่ต้องใช้เวลาที่จะมีรายได้เป็นสาระสำคัญ แต่รับประกันเรื่องกำไรเราจะบริหารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปี 65"นายปฐมภพ กล่าว
อนึ่ง ปี 64 ไทยคมมีกำไรสุทธิจากดำเนินงานจากธุรกิจหลักที่ 41 ล้านบาทพลิกฟื้นจากขาดทุน 139 ล้านบาทในปี 63 ส่วนกำไรสุทธิปี 64 อยู่ที่ 143.64 ล้านบาท ต่ำกว่าปี 63 ที่มีกำไรสุทธิ 513.78 ล้านบาท

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร THCOM กล่าวว่า บริษัทเดินหน้าต่อยอดธุรกิจดาวเทียม ซึ่งไทยคมเป็นรายเดียวในไทยและผู้นำในภูมิภาคนี้ โดยเห็นว่าธุรกิจดาวเทียมยังมีอนาคต จากความต้องการใช้ดาวเทียมที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่อาจเปลี่ยนรูปแบบที่คุ้นเคยไปตามการใช้เทคโนโลยีใหม่

ทั้งนี้ บริษัทยังมุ่งเพิ่มปริมาณการใช้งาน (Utilization) จากดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ซึ่งเป็นดาวเทียมของบริษัทฯ รวมถึงดาวเทียมที่เช่าพื้นที่จากพันธมิตร โดยจะโฟกัสตลาดไทยและเพื่อนบ้าน ที่ยังมีความต่องการต่อเนื่องทั้งการใช้สำหรับการบริการบรอดคาสท์ และ บรอดแบนด์หรืออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

นอกจากนี้ บริษัทศึกษาและเตรียมการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ที่จะพัฒนาด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้กับดาวเทียมค้างฟ้าที่มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด ข้อสำคัญเทคโนโลยีที่สามารถยืดหยุ่นในการปรับพื้นที่ให้บริการและ capacity ได้ตลอดเวลา และต้นทุนที่ต่ำลง จากเดิมการสร้างดาวเทียมต้องกำหนดพื้นที่บริการล่วงหน้าและให้บริการระยะยาว ดังนั้นจะทำให้ลดความเสี่ยงการลงทุน และมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงหลายเท่าเทียบกับดาวเทียมรุ่นก่อน ซึ่งจะทำให้มีขีดความสามารถแข่งขันราคา

รวมทั้งดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) ซึ่งในปีที่แล้วบริษัทเจรจากับพันธมิตรกับผู้ให้บริการดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) ระดับโลกหลายแห่ง โดย THCOM จะใช้จุดแข็งที่เข้าใจตลาดทั้งไทยและภูมิภาคซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยเสริมธุรกิจของบริษัท ก็จะทำให้ช่วยเพิ่มพอร์ตดาวเทียม LEO เข้ามาเพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับบริษัท

"ทั้งการสร้างดาวเทียมใหม่ และการหาพันธมิตรกับผู้ให้บริการดาวเทียม LEO มีความคืบหน้าในการดำเนินการอย่างมาก ซึ่งขณะนี้บริษัทฯยังไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้เพราะเป็นความลับทางการค้า"นายปฐมภพ กล่าว
นายปฐมภพ กล่าวอีกว่า บริษัทมองว่าในอนาคตการสร้างดาวเทียม และการขายเพียง Capacity เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ โดยเห็นว่าบริษัทน่าจะสร้างรายได้และกำไรได้มากขึ้น โดยขยายการให้บริการลูกค้าปลายทางอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งเริ่มทำไปแล้ว ได้แก่ ธุรกิจ NAVA ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนเรือ ซึ่งให้บริการครบวงจร ,การให้บริการบรอดแบนด์ในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัดสายโทรคมนาคมหรือสัญญาญมือถือ ซึ่งเท่าที่ศึกษาพบว่ามีอยู่หลายพื้นที่ที่ยังต้องการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพดีกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ทุกที่มีความต้องการมากขึ้น ทั้งเรื่องการเรียน ทำงาน การใช้ชีวิตซึ่งจะเริ่มให้บริการจริงจังปีนี้ รวมทั้ง 5G เชื่อมต่อกับดาวเทียมจะมีประสิทธิภาพสูงมากในการขยายเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ บริษัทสนใจจะเข้าไปรับงานโครงการ Mega Project ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทั้งของภาครัฐและเอกชน ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งด้านประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่มียาวนาน อาทิเช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร หรือสำรวจโลก นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย รวมทั้งยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับโดรน ที่ได้รับความนิยมใช้มากขึ้น ซึ่งบริษัทมีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าสู่ธุรกิจนี้ และธุรกิจ Digital Service ที่เป็นเมกะเทรนด์ ซึ่งบริษัทสนใจอยู่หลายโครงการ

ส่วนระยะกลางและระยะยาวนั้น จากที่ไทยได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับอวกาศ ก็ทำให้เป็นโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งบริษัทฯดำเนินธุรกิจดาวเทียมมา 30 ปี เป็นการหาโอกาสธุรกิจ 4 ด้าน ได้แก่ การเกษตร ซึ่งบริษัทได้ทำงานกรมการข้าวเกี่ยวกับวิเคราะห์ข้าว, ทรัพยากรธรรมชาติ ในการวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม , เรื่องความมั่นคงของประเทศ และภาคเอกชน ที่มีการตื่นตัว climate Chang และซีโร่คาร์บอน