ผู้เขียน หัวข้อ: ครม. เห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาประเทศ BCG Model วงเงินกว่า 4 หมื่นลบ.  (อ่าน 369 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy : BCG Model) ปี 64 - 70 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (65 - 70) กรอบวงเงินงบประมาณ รวม 40,972.60 ล้านบาท ภายใต้วิสัยทัศน์ "เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีคุณภาพที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และวัฒนธรรม การสร้างคุณค่า (Value Chain) จากทรัพยากรชีวภาพ และวัฒนธรรม และการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเอง

สำหรับร่างแผนปฏิบัติการฯ BCG (64 - 70) ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ มีตัวชี้วัดอาทิ คลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมดิจิทัล เทคนิคและนวัตกรรม ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีโครงการ อาทิ โครงการคลังข้อมูลดิจิทัลความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม โดยบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ และโครงการ Thailand Biodiversity Genome Project และโครงการการจัดทำแผนที่ใต้สมุทร และฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพทางทะเลและชายฝั่งทะเลไทย กรอบวงเงิน 2,290 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีตัวชี้วัดอาทิ อัตราการขยายตัวของ GDP ของภูมิภาคเติบโตเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 50% จากปี 2565 และ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลงไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน กรอบวงเงิน 1,820 ล้านบาท

สำหรับ 4 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาการเกษตรเศรษฐกิจจากจุลินทรีย์และเห็ดรา เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG Model โครงการการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จากความหลากหลายทางชีวภาพสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โครงการยกระดับคุณภาพ ความปลอดภัย และมาตรฐานของอาหารท้องถิ่น (Street Food/วิสาหกิจชุมชน) และโครงการพลังงานชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน (ประกอบด้วย 5 สาขา ได้แก่ สาขาการเกษตร และอาหาร สาขาการแพทย์และสุขภาพ สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน) กรอบวงเงิน 33,301 ล้านบาท

โดยมีตัวชี้วัดสำคัญ เช่น เพิ่ม GDP สาขาเกษตร 3 แสนล้านบาท รายได้ครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/ ครัวเรือน/ปี เพิ่ม GDP สาขายาและวัคซีน เป็น 9 หมื่นล้านบาท สาขาเครื่องมือแพทย์สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม 100,000 ล้านบาท เพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ให้ประชาชน ในภูมิภาคและชนบท 1 ล้านคน

รวมถึงเพิ่มอันดับการจัดอันดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Global Wellness Travel Ranking) เป็น Top 5 ภายในปี พ.ศ. 2570 การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกลดลงไม่น้อยกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 70 โดยมีตัวอย่างโครงการที่สำคัญ รวม 15 โครงการ ได้แก่

1.โครงการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตรแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area Based)

2.โครงการการใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลขนาดใหญ่ภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต และจัดสมดุลการผลิต - การตลาด

3.โครงการรับรองมาตรฐานสินค้าปลอดภัยเชื่อมสินค้าเกษตรปลอดภัย สู่อุตสาหกรรมอาหาร

4.โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการและมาตรการ เพื่อลดการสูญเสียอาหาร (food loss) และขยะอาหาร (food waste)

5.โครงการยกระดับแพลตฟอร์มการผลิตวัคซีนระดับอุตสาหกรรมครบวงจร

6.โครงการการผลิตยาต้านไวรัสรองรับการระบาดใหญ่ และสร้างศักยภาพการผลิตยาภายในประเทศ

7.โครงการยกระดับการแพทย์จีโนมิกส์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการบริการ

8.โครงการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาด้านนวัตกรรมและเสริม มาตรฐานเครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลนให้เป็นสากล

9.โครงการ ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยด้วยนวัตกรรม

10.โครงการการพัฒนาแนวทาง วิธีการ และกระบวนการติดตามประเมินผล การกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากโครงการภาคป่าไม้ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการรับรองเป็นคาร์บอนเครดิต ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศ

11.โครงการการพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน

12.โครงการยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวหลังโควิด

13. โครงการสร้างความรับรู้และมีส่วนร่วมในเรื่อง BCG

14.โครงการจัดการขยะพลาสติกครบวงจร แยก รวบรวม จัดเก็บ หมุนเวียนใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ซ้ำ

15.โครงการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลการลดการสูญเสีย อาหารและขยะอาหารระดับชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก กรอบวงเงิน 3,213.5 ล้านบาท สำหรับมีตัวชี้วัด อาทิ จำนวนผู้ที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน จำนวนวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG 1,000 ราย โดยมีตัวอย่างโครงการที่สำคัญเช่น โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (Youth Startup Fund) โครงการพลิกโฉมการเรียนรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่ด้วยนวัตกรรม และศาสตร์เชิงบูรณาการ

"รัฐบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานภายใต้ แผนปฏิบัติการฯ BCG (64 - 70) เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เชิงรุก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ซึ่งจะกำกับดูแล ขับเคลื่อนบูรณาการการทำงานสู่การปฏิบัติ โมเดลเศรษฐกิจ BCG อีกทั้งจะมีการติดตามและการประเมินผลเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์กับประชาชนให้มากที่สุด" นายธนกร กล่าว