ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดม่านกับ ก.ล.ต. คู่มือเทรดกระดาน LiVE Exchange  (อ่าน 366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
เปิดม่านกับ ก.ล.ต. คู่มือเทรดกระดาน LiVE Exchange
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2022, 02:38:33 am »

เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้แล้วสำหรับ "LiVE Exchange" กระดานซื้อขายแห่งที่ 3 รองรับการระดมทุนของกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และ Startups จากปัจจุบันมีการซื้อขายหุ้นบน 2 กระดาน ประกอบด้วย กระดาน SET รวบรวมบริษัทจดทะเบียนไซส์มาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ และกระดานตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นบริษัทไซส์มาร์เก็ตแคปขนาดกลาง

กระดาน LiVE Exchange เป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานแกนหลักในตลาดทุนอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึงพันธมิตรองค์กรระดับประเทศอีกหลายแห่ง โดยมีเป้าหมายหลักคือการทำให้ผู้ประกอบการ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาเพียงแค่เงินกู้จากสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว

นางสาวจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน ก.ล.ต. เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย สะท้อนจากการจ้างงานที่มีสัดส่วนเกิน 80% ของการจ้างงานทั้งประเทศ สอดคล้องยุทธ์ศาสตร์ชาติมีนโยบายส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.ล.ต. ออกเครื่องมือสำหรับการระดมทุนของ SMEs และ Startups ในวงแคบ คือ การออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิ้ง และการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในวงจำกัด แต่ล่าสุดเตรียมเปิดให้ระดมทุนแบบวงกว้าง โดยสามารถนำหุ้นไปซื้อขายบนกระดาน LiVE Exchange เพื่อให้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือของกลุ่มผู้ลงทุนได้สะดวกขึ้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ.65 คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ LiVE Exchange ซึ่งเป็นข้อบังคับและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด LiVE Exchange และเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ลงทุน คาดว่าจะเริ่มมีผลใช้บังคับภายในไตรมาส 1/65

หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะผ่อนปรนหลักเกณฑ์ทั้งในเรื่องคุณสมบัติการเข้าจดทะเบียนและดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน เน้นหลักการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน และอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียนจะต่ำกว่ากรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาด mai และตลาด SET

ด้านการซื้อขายจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างไปจาก mai และ SET โดยมีการเปิดให้ซื้อขายวันละหนึ่งรอบ และผู้ลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์การลงทุน มีประสบการณ์และมีสินทรัพย์สูงในระดับที่สามารถรับความเสี่ยงได้ สอดคล้องกับสภาวการณ์ซื้อขายหุ้นของ SMEs และ Startup

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เบื้องต้นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ผ่อนปรนให้กับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เพื่อให้สามารถเข้ามาระดมทุนได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย

1. ไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตามเงื่อนไขที่หลักเกณฑ์กำหนด เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ด้วยตัวเอง

2. ไม่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

3. ต้องแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อสอดคล้องไปกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ หมวด 3/1 เช่น หลักการบริหารกิจการ ,คุณสมบัติคณะกรรมบริหาร, การทำหน้าที่ของผู้บริหาร และการทำธุรกรรมที่มีนัpสำคัญต่อธุรกิจอย่างการซื้อขายหุ้นของบริษัท เป็นต้น

4. ต้องเป็นบริษัทขนาด M ขึ้นไปตามนิยามของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หรือเป็นสตาร์ทอัพ Post Series A ที่มีผู้ลงทุนสถาบัน, กิจการเงินร่วมลงทุน (VC) หรือ นิติบุคคลร่วมลงทุน (PE) เข้าไปร่วมลงทุนแล้ว

5. ต้องไม่เป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายร้ายแรง ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ยาเสพติด หรือ ฟอกเงิน

6. ผู้บริหารต้องมีความน่าไว้วางใจ

7. เปิดเผยงบการเงินรอบ 6 เดือนและรอบ 1 ปี

8. ใช้มาตรฐาน PAE ในการจัดทำงบการเงินบริษัทเป็นไปตามหลักมาตรฐานบัญชีที่มีผู้มีส่วนได้เสียสาธารณะเป็นวงกว้าง

8. ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สอบบัญชีที่ขึ้นตรงกับสำนักงาน ก.ล.ต.ก็ได้ แต่ต้องใช้ผู้สอบบัญชีในสังกัดที่สำนักงาน ก.ล.ต.เห็นชอบ

9. ต้องมีมูลค่าการระดมทุนต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท แต่ต้องไม่เกิน 500 ล้านบาท

10. ต้องได้รับเงินระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่า 80% ของมูลค่าการระดมทุนที่ตั้งเป้าหมายไว้

ด้านหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างไปจาก mai และ SET เนื่องจากมีการเปิดให้ซื้อขายวันละหนึ่งรอบ แต่ยังไม่เปิดให้ผู้ลงทุนรายย่อยเข้าลงทุน โดยจะต้องเป็นผู้ลงทุนที่มีคุณสมบัติ คือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์การลงทุน มีประสบการณ์ และมีสินทรัพย์สูงในระดับที่สามารถรับความเสี่ยงได้ ได้แก่ กลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน (VC), นิติบุคคลร่วมลงทุน (PE), ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ (Angle Investor), ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) ทรัพย์สินสุทธิไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท และรวมถึงบุคคลที่มีความคุ้นเคยกับกิจการเป็นอย่างดี เช่น ผู้บริหาร ,พนักงาน และผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นต้น