ผู้เขียน หัวข้อ: BAM เผยเจรจา 7 สถาบันการเงินตั้ง JV ธุรกิจ AMC ปีนี้  (อ่าน 332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
BAM เผยเจรจา 7 สถาบันการเงินตั้ง JV ธุรกิจ AMC ปีนี้-วางงบ 9 พันลบ.ซื้อหนี้

นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันทางการเงินทั้งหมด 7 รายเพื่อร่วมทุน(JV) จัดตั้งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในปี 65 นี้

สำหรับสถาบันการเงินในกลุ่มดังกล่าวจะมีทั้งธนาคารที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ 2 ราย และเกี่ยวกับ AMC อีก 1 ราย รวมถึงธนาคารพาณิชย์ แต่จะไม่มีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ(SFIs) ตามเงื่อนไขจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเบื้องต้นสถาบันทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐได้นำพอร์ตหนี้เข้ามาเสนอแล้ว 1 ราย

ทั้งนี้ การ JV ดังกล่าวสามารถจัดตั้ง AMC เกิดขึ้นร่วมกันหลายแห่ง - หลายกองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจับมือกับสถาบันการเงินเพียงรายเดียว หรือหนึ่งบริษัทสามารถร่วมกับหลายๆ สถาบันการเงินได้ "เราคาดว่า NPL จะไหลออกมาต่อเนื่องในปีนี้และปี 66 มูลค่ากว่า 2-3 แสนล้านบาท อาจจะทำให้สถาบันทางการเงินออกมา JV หรืออาจจะขายขาดก็ต้องดูอีกที ซึ่งเราก็จะแยกบัญชีกันชัดเจนระหว่าง BAM หรือ JV ซึ่งการขยายในรูปแบบ JV จะช่วยให้เราขยายได้มากโดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุน"นายบัณฑิต กล่าว

ขณะที่ภายใต้การดำเนนการปกติ BAM ยังเดินหน้าความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ส่งผลให้การจำหน่ายสินทรัพย์ใช้ระยะเวลาลดลง และใช้ระยะเวลาเพื่อเข้าถึงจุดคุ้มทุนเหลือ 5 ปี จากเดิม 7 ปี จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลงราว 6%

โดย ไปรษณีย์ไทย มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ 10,000 แห่ง และบุคลากรกว่า 20,000 คนที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสำรวจทรัพย์ที่กระจายอยู่ทุกทำเลทั่วประเทศ และ BAM ต้องมีการออกสำรวจตรวจสอบทรัพย์ดังกล่าวทุก 3 เดือน ซึ่งไปรษณีย์ไทยเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ มีความชำนาญในการเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ

ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทยจะให้บริการด้านการสำรวจและดูแลทรัพย์ของ BAM ทั่วประเทศ ช่วยให้ BAM สามารถลดขั้นตอนเวลาการทำงาน และลดต้นทุนต่าง ๆ ซึ่งความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภารกิจในการบริหารทรัพย์สินรอการขายให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมถึง BAM ยังใช้บริการงานด้านการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการขาย ผ่านสื่อ ต่าง ๆ ทั้ง Online และ Ofline ของไปรษณีย์ไทยอีกด้วย

ปัจจุบัน BAM มีทรัพย์สินรอการขายทุกประเภท ทั้งที่ดินเปล่า บ้านเคี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาการพาณิชย์ อาการชุด หลากหลายทำเลครอบคลุมในทุกภูมิภากของประเทศไทย มากกว่า 20,000 รายการ มูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท การบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย( NPA) มีนโยบายมุ่งเน้นในการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มือสอง ให้มีคุณภาพ พร้อมจำหน่ายในรากายุติธรรม โดยมีสำนักงานของ BAM จำนวน 26 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายแบบครบวงจร

นายบัณฑิต กล่าวอีกว่า ในปี 65 นี้บริษัทตั้งงบลงทุนไว้ราว 9,000 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหนี้เสีย (NPL) และ สินทรัพย์รอการขาย (NPA) เพิ่มเติม โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคบริการในช่วงที่ผ่านมาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม ผู้ประกอบการรถขนส่ง สายการบิน และเกษตรกร เป็นต้น จึงคาดว่า NPL ที่จะออกมาในระบบคงมีจำนวนมากขึ้น โดย 2 เดือนแรกของปี 65 ออกมาแล้วราว 20,000 ล้านบาท