ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ว่าฯ ธปท.ยันไม่ปิดกั้นนวัตกรรมการเงินใหม่  (อ่าน 335 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
ผู้ว่าฯ ธปท.ยันไม่ปิดกั้นนวัตกรรมการเงินใหม่ เน้นดูแลเสถียรภาพควบคู่รักษาสมดุล
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแก่นของธนาคารกลางท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงว่า ท่ามกลางกระแสในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่บทบาทของธนาคารกลางบางอย่างไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะถือว่าเป็นแก่นสำคัญ โดย "แก่น" ที่ถือเป็นบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ การมีระบบการชำระเงินแบบรวมศูนย์ มีภาครัฐรักษาดูแลมูลค่าของเงิน ดูแลเสถียรภาพของเงิน แม้ว่านโยบายการเงิน การกำกับดูแลจะเปลี่ยนแปลง แต่ระบบการชำระเงินที่รวมศูนย์อยู่ยงคงกระพัน และเป็นระบบที่เสถียร ตอบโจทย์ได้อย่างชัดเจน

ส่วนกระแสในปัจจุบันคือ คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเงินอย่างหนึ่ง เป็นกระแสแต่อาจไม่ตอบโจทย์การชำระค่าสินค้าและบริการ ดังนั้นหากจะพูดว่านวัตกรรม หรือกระแสที่จะมาแทนแก่นได้ ควรเป็นอะไรที่ดีกว่าเดิม ไม่เช่นนั้นก็อย่าเอามาใช้ เพราะไม่เป็นประโยชน์ และยังอาจไปกระทบเสถียรภาพของระบบเดิมที่ดีอยู่แล้ว มีความผันผวนน้อย ขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัยสูง

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ธปท.จะไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลงใดๆ เพียงแต่จะต้องแยกให้ออกระหว่าง "แก่น" กับ "กระแส" และหากจะให้ "กระแส" เข้ามาแทน "แก่น" ได้ ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจะดีกว่าของเดิมที่มีอยู่ พร้อมย้ำว่า ธปท. จะไม่ผลิต product เพื่อออกมาแข่งกับเอกชน แต่สิ่งที่ ธปท.จะทำ คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เพื่อให้มีผู้เข้ามาพัฒนา product บนโครงสร้างพื้นฐานนี้ และมีคนเข้ามาใช้งานได้อย่างทั่วถึง และปลอดภัย

"ดังนั้น "กระแส" ที่จะมาแทน "แก่น" ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ดีกว่าของเดิมที่มีอยู่ แต่ถ้าเรา (ธปท.) เห็นว่าดีกว่าเดิม เราก็พร้อมจะเปลี่ยน" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า กระแสในอนาคตที่ไม่สามารถหนีได้พ้น คือ เทคโนโลยีดิจิทัล และความยั่งยืน ดังนั้น ในบทบาทของภาคการเงิน คือจะทำอย่างไรเพื่อช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาให้ ธปท. ออกรายงานเพื่อขอความเห็นในการจัดทำภูมิทัศน์ใหม่สำหรับภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยจะเป็นการวางระบบการเงินในอนาคต ที่คำนึงถึง 2 หลักการสำคัญ คือ 1.การรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมทางการเงินควบคู่ไปกับการดูแลความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงิน เนื่องจากเห็นว่านวัตกรรมการเงินบางอย่างอาจสร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงินได้ และ 2.การดูแลความเสี่ยงที่จะต้องปรับให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น นวัตกรรมไหนเสี่ยงมาก ก็กำกับดูแลมาก, นวัตกรรมไหนเสี่ยงน้อย ก็กำกับดูแลน้อย

"นวัตกรรมไหนที่ยังมองภาพไม่ชัดเจน หรือยังดูไม่ออก เราก็จะใช้หลัก "ราวกั้น" เข้าไปดูแลและจำกัดความเสี่ยง ซึ่งในระยะต่อไป หากมีการเรียนรู้นวัตกรรมตัวนี้ได้มากขึ้น และเห็นว่าเป็นประโยชน์ ก็จะขยายราวกั้นออกไป แต่หากดูแล้วว่าจะมีความเสี่ยง ก็จะจำกัดราวกั้น ทั้งนี้ เพื่อให้นวัตกรรมสร้างประโยชน์กับส่วนรวมได้อย่างแท้จริง แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องแยกให้ออกระหว่าง แก่น กับ กระแส" นายเศรษฐพุฒิ กล่าว