ผู้เขียน หัวข้อ: บอร์ดสสว.เห็นชอบแผนส่งเสริม SME ปี 66  (อ่าน 335 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
บอร์ดสสว.เห็นชอบแผนส่งเสริม SME ปี 66
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2022, 03:22:39 am »
บอร์ดสสว.เห็นชอบแผนส่งเสริม SME ปี 66-เร่งรัดขึ้นทะเบียนให้เข้าถึงความช่วยเหลือ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บอร์ด สสว.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1. ด้านการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริม SME ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเร่งฟื้นฟู SME ที่ประสบปัญหาให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้ด้วยบริการปรึกษาแนะนำเพื่อช่วยเหลือ ฟื้นฟู และปรับปรุงกิจการผ่านระบบผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business Development Service) ส่งเสริมให้ SME นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ รวมไปถึงการขายด้วย e-Commerce สนับสนุนให้ SME สามารถขายสินค้าและบริการให้ภาครัฐได้มากขึ้น ด้วยการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้มีคุณสมบัติ มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของภาครัฐ

2. ด้านการเตรียมความพร้อมและส่งเสริม SME ทุกกลุ่มให้ปรับตัวจนเข้มแข็งและเติบโต ด้วยการสร้างความพร้อมให้นักเรียน นักศึกษา ในการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ พัฒนาศักยภาพธุรกิจ SME ทั่วไปอย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพและในกลุ่มที่มีความพร้อมก็มีศักยภาพเพียงพอในการขยายกิจการได้ช่วยเหลือและสนับสนุน SME กลุ่มเฉพาะ ให้มีทักษะ ความสามาร ในเชิงธุรกิจที่เพียงพอต่อการสร้างรายได้ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการสูงอายุ ธุรกิจยังชีพ และธุรกิจการเกษตร พัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยและช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ SME อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สนับสนุนให้ SME มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ สร้างและพัฒนาบุคลากร แรงงาน ให้มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจด้วยการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรค รวมไปถึง การพัฒนาระบบบริการภาครัฐที่ทันสมัยด้วยดิจิทัล เพื่อการเข้าถึงที่ง่ายของ SME เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานโครงการนำร่อง ONE ID และพัฒนาระบบ Single Sign On ฐานข้อมูลสมาชิกของ สสว. เพื่อขอรับบริการจากภาครัฐ ปี 2564 โดย สสว. ได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ในการพัฒนาระบบ "หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ SME" ซึ่งเป็นโครงการนำร่องพัฒนาระบบให้บริการแก่ผู้ประกอบการผ่านหมายเลข ID เพียงตัวเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐ หรือไม่ต้องยื่นเอกสารในทำธุรกรรมกับภาครัฐ ซึ่งคาดว่า ในการดำเนินงานระยะที่ 1 สามารถยืนยันตัวตนในกลุ่มผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาที่ตรวจสอบข้อมูลได้กับกรมการปกครอง และในระยะที่ 2 จะพัฒนากระบวนการยืนยันตัวตนกลุ่มนิติบุคคลที่ตรวจสอบข้อมูลได้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป

นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า จะต้องหาแนวทางให้ SME เข้ามาอยู่ในระบบให้มากที่สุด เพื่อให้เข้าถึงการช่วยเหลือดูแลของรัฐบาลได้ ซึ่งเรื่องการขึ้นทะเบียน SME พบว่า ตัวเลขจำนวน SME ของภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชนยังไม่ตรงกัน จึงขอให้ช่วยกันบริหารจัดการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องการใช้ฐานข้อมูล และระเบียบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการช่วยเหลือ SME

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับธุรกิจ SME เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งที่ผ่านมาได้เร่งรัดเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SME และการทำให้ SME เข้าสู่ระบบการช่วยเหลือมาโดยตลอด สิ่งสำคัญ คือ การทำความเข้าใจว่ารัฐบาลมีความจริงใจ ขับเคลื่อนทุกอย่างในการยกระดับ SME ให้ดีขึ้น

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังได้กำชับให้มีการตรวจสอบผู้ประกอบการ SME ที่ดำเนินการเข้าข่ายมีการฮั้ว โดยต้องมีมาตรการตรวจสอบที่รอบคอบ รัดกุม ให้ดำเนินการอย่างสุจริต ถ้าพบผู้ทุจริต ต้องถูกลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่หรือเล็กก็ตาม ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมาการแก้ปัญหาของ SME เป็นไปแบบรายกลุ่ม วันนี้จะต้องแก้ปัญหาในภาพรวมทั้งหมด โดยต้องแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้า ค้นหา SME ที่ยังมีศักยภาพในแต่ละภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู SME ที่ประสบปัญหาแต่ยังมีศักยภาพ ให้ล้มแล้วลุกไว ซึ่ง สสว. จะต้องทำงานแบบพุ่งเป้าให้กับรัฐบาลด้วย

ด้านตัวแทนภาคเอกชนผู้ประกอบการ ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่ทำให้ได้รับประโยชน์จากระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นอย่างมาก รวมทั้งภาคเอกชนส่วนท้องถิ่นก็ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นอย่างดี