ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.78 แข็งค่ากว่าภูมิภาคจากกระแสเงินไหลเข้า  (อ่าน 376 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ PostDD

  • *
  • กระทู้: 929
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.78 แข็งค่ากว่าภูมิภาคจากกระแสเงินไหลเข้า รอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐพรุ่งนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.78 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าต่อเนื่องจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.86 บาท/ดอลลาร์ หลังมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามาก โดยวันนี้ต่างชาติลงทุนในตลาดพันธบัตร อีก 1.6 หมื่นล้านบาท ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.77 - 32.93 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้บาทแข็งค่ามากสุดในภูมิภาค โดยระหว่างวันทำนิวโลว์นับตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย.64 เนื่องจากวันนี้มี Fund Flow ไหล เข้ามาในตลาดพันธบัตรอีก 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนผลประชุม กนง.ไม่มีผลมากนัก" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.70 - 32.85 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่จะประกาศในช่วงค่ำวันพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) ทิศทางวันพรุ่งนี้น่าจะแกว่งตัวรอในกรอบ"
นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.34 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 115.51 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1426 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1416 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,703.16 จุด เพิ่มขึ้น 18.93 จุด, +1.12% มูลค่าการซื้อขาย 135,624.66 ล้านบาท
สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 17,312.19 ล้านบาท (SET+MAI)
กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ 7:0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี พร้อมประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อ
เนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 65 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่ม
ขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำสะท้อนรายได้และกำลังซื้อที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว โดยต้องติดตามราคาพลังงานโลกและ
สัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง
กนง.เผยยังให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน จึงเห็นว่าขณะนี้ยังไม่ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะ
เป็นการไปฉุดเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น ส่วนการที่เงินเฟ้อในครึ่งปีแรกมีโอกาสสูงเกินกรอบเป้าหมาย 3% ไปบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติและเป็น
เรื่องชั่วคราว
รมว.คลัง เผย 7 ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อทิศทางของประเทศไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ
อากาศ, เทคโนโลยีดิจิทัล, การแพทย์และบริการด้านสาธารณสุข, การส่งเสริม SME และ Start Up ให้เข้มแข็ง, การท่องเที่ยว,
ความคุ้มครองทางสังคม และ โครงสร้างประชากรและสังคมผู้สูงอายุ
เลขาธิการสภาพัฒน์ ชี้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่างๆ และผลกระทบจากโค
วิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ยังไม่มีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาคการเกษตรยังไม่ขยายตัวมากขึ้น ยังอยู่ใน
รูปแบบการผลิตแบบเดิม ไม่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และกำลังแรงงานมีแนวโน้มลดลง เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้
สูงอายุในประมาณ 4-5 ปีข้างหน้า
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.65 อยู่ที่
ระดับ 88.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือน ธ.ค.64 โดยด่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และกลับมาอยู่ระดับ
ใกล้เคียงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปี 63 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ
กระทรวงการคลัง เผยความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 20.40 ล้านราย มียอดการใช้จ่าย
รวม 14,027.6 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 7,102.8 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 6,924.8 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสม
แบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5,201.1 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 2,743.7 ล้านบาท ร้าน OTOP 675.8
ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 5,144.5 ล้านบาท ร้านบริการ 243.5 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 19 ล้านบาท
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 272 ต่อ 162 ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวในวันอังคาร (8 ก.พ.)
เพื่อช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐมีงบประมาณใช้จ่ายไปจนถึงวันที่ 11 มี.ค.และหลีกเลี่ยงไม่ให้หน่วยงานเหล่านี้ต้องถูกปิดการ
ดำเนินงาน หรือชัตดาวน์
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในระบุว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำลังเตรียมความพร้อมให้
ธนาคารต่าง ๆ สามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของรัสเซีย ท่ามกลางบรรยากาศที่ตึงเครียดระหว่างรัส

เซียและยูเครน