ผู้เขียน หัวข้อ: ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนวางแนวทางช่วยราคา  (อ่าน 347 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0
ธ.ก.ส. เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนวางแนวทางช่วยราคาผลผลิตตกต่ำ-ภัยธรรมชาติ

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้ปี 65 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ ทั้งเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือมีรายได้ไม่สอดคล้องกับแผนการชำระหนี้เดิม เพื่อกำหนดกระบวนการการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เริ่มจากการมอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้

หลังจากนั้น จัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง กลุ่มมีเหตุผิดปกติ เป็นต้น เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ดี จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป

นอกจากการบรรเทาความเดือดร้อน และลดความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินแล้ว ธ.ก.ส. ยังเสริมสภาพคล่องในการลงทุนและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินงบประมาณ 1,200 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่นำเงินมาชำระหนี้ โดยจะทำการคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรง 20% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท

ล่าสุดมีการคืนดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 622 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 850,000 ราย และโครงการนาทีทองลดดอกเบี้ยสู้โควิด โดยจะลดดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมถึงเบี้ยปรับสูงสุด ไม่เกิน 50% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มี.ค. 65 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินที่กำหนด โดยมีการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 1,110 ล้านบาท