การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้นั้น ถือเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยที่หมดสติหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และยังช่วยรักษาสมดุลระบบต่างๆภายในร่างกายอีกด้วย เช่น ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับถ่ายให้เป็นปกติ ซึ่งการรับประทานอาหารถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญของการดำรงชีวิต แม้แต่คนเราที่เป็นคนทั่วไป ยังมีความต้องการอาหาร
ดังนั้น ผู้ป่วยก็มีความต้องการอาหารเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร แต่การให้อาหารทางสายยางนั้น ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับอาหารทางสายยางเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น การให้อาหารทางสายยาง จึงถือเป็นกระบวนการรักษาที่ต้องควบคุมดูแลโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงผู้ดูแลก็ต้องมีความเชี่ยวชาญด้วยเช่นเดียวกัน ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการได้รับอาหารทางสายยางที่มักพบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการท้องเสีย แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาหารปั่นผสมที่จะนำมาให้ผู้ป่วยนั้น จะมีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ไม่นาน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อปรุงเสร็จแล้ว ควรที่จะให้อาหารแก่ผู้ป่วยจนหมด หลีกเลี่ยงการนำมาใช้ซ้ำในวันต่อไป เพราะอาหารที่ให้ทางสายยางจะเป็นอาหารที่ปั่นแล้ว หากทิ้งอาหารไว้ค้างคืนจนบูด ก็จะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ โดยทั่วไปแล้ว อาหารที่ให้ทางสายยางจะเป็นอาหารปั่นผสม ที่ควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง อาหารที่เตรียมเสร็จแล้วแต่ยังไม่ถึงมื้ออาหารที่จะให้ครั้งต่อไป ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนที่จะให้อาหารในมื้อนั้นๆ ซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องเสียแก่ผู้ป่วยได้
ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงอาการท้องเสีย สำหรับผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ว่าสามารถเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความสะอาดและปลอดภัยมากที่สุด
ทำไมผู้ป่วยที่ได้รับอาหารสายยางเกิดอาการท้องเสีย ดูเพิ่มเติมที่นี่ https://thetastefood.com/อาหารสายยาง/