ผู้เขียน หัวข้อ: องค์กรผู้บริโภคยื่น กสทช.ชะลอไฟเขียวควบรวม TRUE-DTAC  (อ่าน 364 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • *
  • กระทู้: 861
  • Popular Vote : 0
องค์กรผู้บริโภคยื่น กสทช.ชะลอไฟเขียวควบรวม TRUE-DTAC รอบอร์ดชุดใหม่

คณะอนุกรรมการด้านสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนามคมแห่งขาติ (กสทช.) ให้ชะลอการพิจารณาการลงมติการควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมฯ ระหว่างบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC)

โดยระบุว่า กสทช. เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ต้องทำงานอย่างเข้มแข็ง อิสระ เที่ยงตรง เป็นธรรม ในการกำกับดูแลเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น จะทำเพียงการรับรองการควบรวมไม่ได้ แต่ต้องยึดเอาผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก และการพิจารณาครั้งนี้ควรเปิดทางให้คณะกรรมการ กสทช. ชุดใหม่เข้ามาพิจารณาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการ กสทช. ชุดใหม่อยู่ระหว่างการรอประกาศการตำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในราชกิจจานุเบกษา

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการฯ ได้กล่าวว่า กสทช. มีอำนาจตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 และประกาศเรื่องมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ดังนั้น กสทช. จำเป็นต้องทำหน้าที่กำกับดูแลในฐานะ (Regulator) ไม่ใช่เป็นเพียงนายทะเบียน (Registrar) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันเสรีเป็นธรรมในกิจกรรมโทรคมนาคม และ คุ้มครองผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและเหตุผลของการมีอยู่ของ กสทช. (Raison d'etre)

ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีผู้ให้บริการสามรายใหญ่ในตลาดแต่ยังถือว่ามีการแข่งขันไม่เต็มที่มากนัก จึงเข้าลักษณะตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly Market) แต่ผู้บริโภคยังรู้สึกได้ว่ามีทางเลือกน้อย เพราะผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมมีอำนาจในตลาดมาก ซึ่งที่ผ่านมาการกำกับดูแลเพื่อผู้บริโภคไม่ได้เข้มแข็ง ดังนั้น หากลดลงเป็น Duopoly คือ รายใหญ่ที่มีอำนาจเหนือตลาดเหลือสองราย จึงเกิดคำถามว่าผลกระทบต่อทางเลือกของผู้บริโภคจะเป็นอย่างไร

ดังนั้น กสทช. ต้องอธิบายถึงผลกระทบต่อการแข่งขันและผู้บริโภคในกรณีของการควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมฯ และ แผนการกำกับดูแลในอนาคตเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ แนวทางการบริหารงานของรัฐบาลที่บริหารนโยบายการสื่อสารให้คนในประเทศได้รับทราบข้อมูลในประเด็นที่ว่าหากมีการควบรวมเกิดขึ้นและเหลือเพียงสองรายใหญ่จะมีแนวโน้มไปสู่การสมรู้ร่วมคิดที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่แข่งขันกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมตลาด (Collusion) หรือสภาวะตลาดผูกขาด ( Monopoly) ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในกิจการที่มีอำนาจเหนือตลาดสูง อีกทั้งการที่มีผู้แข่งขันน้อยราย โดยเฉพาะธุรกิจโทรคมนาคมที่รายใหม่ ๆ จะเข้าสู่ตลาดเดิมยากขึ้นและผู้บริโภคจะมีอำนาจน้อยลงไปอีก กสทช. จะมีมาตรการเยียวยาอย่างไร

"ขณะนี้สังคมรอ กสทช. ชุดใหม่มาทำหน้าที่ในการพิจารณาควบรวม เพราะเป็นเรื่องที่ต้องมีความชอบธรรมทั้งทางกฎหมายและทางสังคม ดังนั้น จึงขอให้ กสทช. ชุดรักษาการยุติการพิจารณาเรื่องนี้เพื่อรอให้ กสทช. ชุดใหม่มาเริ่มกระบวนการพิจารณาต่อไป และกลับมากำกับดูแลปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น เช่น ปัญหา SMS หรือ Call center ที่ส่งมาหรือโทรมาหลอกลวง จนทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า" นางสาวสุภิญญา ระบุ