ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.ผ่านร่าง LOI ไทย-ภาคเอกชนสหรัฐร่วมมือแสวงโอกาส  (อ่าน 327 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
ครม.ผ่านร่าง LOI ไทย-ภาคเอกชนสหรัฐร่วมมือแสวงโอกาสลงทุนพลังงานสะอาด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) สำหรับข้อริเริ่มความต้องการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy Demand Initiative: CEDI) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีพิธีลงนามในการประชุม The 2nd United States -Thailand Energy Policy Dialogue (2nd UTEPD) โดยกระทรวงพลังงานไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565

ในเบื้องต้นมีภาคเอกชนของสหรัฐประสงค์ ที่จะร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงค์ทั้งหมด 19 บริษัท โดยจะนำเงินมาลงทุนคิดเป็นมูลค่าอาจสูงถึง 2,384 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีรายชื่อดังนี้ 1) HP Inc. 2) Apple 3) Akamai 4)Meta Platforms, Inc. 5) Johnson & Johnson 6) Nike 7) Dow Inc. 8) Iron Mountain 9) Inter IKEA Group 10) Lululemon 11) Spiber Inc. 12) Ralph Lauren Corporation 13) Unilever 14) TAL Apparel 15) Amer Sports 16) RIFE International 17) Amazon 18) WeWork และ 19) TCI Co., LTD

"การร่วมลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงในครั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของไทย ในการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป็นการส่งเสริมโอกาสของการลงทุนระหว่างสหรัฐกับไทยด้วย" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ

สำหรับหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับนี้ เป็นการแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจที่สนใจและมีศักยภาพในการจัดหาและใช้พลังงานสะอาด โดยฝ่ายสหรัฐจะชักชวนนักลงทุนมาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และฝ่ายไทยจะอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการจัดหาพลังงานสะอาดสำหรับการดำเนินธุรกิจของสหรัฐภายใต้เงื่อนไขและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาทางเลือกอื่นๆ ที่มีความเหมาะสม ผ่านแนวทางการจัดหาพลังงานสะอาดที่ฝ่ายไทยจะดำเนินการในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย

1) การผลักดันให้เกิดตลาดพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันด้านราคาได้ 2) การกำหนดนโยบายด้านพลังงานสะอาดให้มีความเหมาะสม 3) การส่งเสริมระบบการรับรองสถานะด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในการซื้อขายพลังงานสะอาด 4) การสนับสนุนการพัฒนานโยบายและโครงสร้างพื้นฐานของด้านไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดได้