ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.17 แนวโน้มผันผวน ตลาดจับตาสถานการณ์ความตึงเครียด  (อ่าน 375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.17 แนวโน้มผันผวน ตลาดจับตาสถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนเป็นหลัก

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.17 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.18 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทในช่วงนี้ยังมีทิศทางผันผวน โดยแข็งค่ามากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ช่วงนี้ปัจจัยหลักที่ตลาดจับตาเป็นหลักคือความตึง เครียดในยูเครนที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกได้

ขณะที่ปัจจัยในประเทศ วันนี้ตลาดติดตามการแถลงรายงาน GDP ไตรมาส 4/64 ของสภาพัฒน์ ซึ่งตลาดคาดว่าจะขยายตัว ได้ 0.7% รวมทั้งต้องดูว่าสภาพัฒน์จะให้มุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 65 อย่างไรด้วย

"เงินบาทค่อนข้างผันผวน ค่อนข้างสวนทางภูมิภาค แต่คาดว่าการแข็งค่าจะเริ่มจำกัด เพราะก่อนหน้านี้ บาทแข็งค่าไปค่อน ข้างมากแล้ว สิ่งที่ตลาดจับตานอกเหนือจากเฟด คือ สถานการณ์ในยูเครนเป็นหลัก" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.10 - 32.25 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (18 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 0.43441% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.51242%

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.11500 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.03 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 115.16 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1329 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1371 ดอลลาร์/ยูโร
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.147 บาท/ดอลลาร์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) Q4/64,
ปี 64 และแนวโน้มปี 65
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการดำเนินงานระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2564
โฆษกรัฐบาล แจงโครงการ "คนละครึ่งเฟส 4" นายกฯพอใจ ดันยอดหมุนเวียนเศรษฐกิจกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท รบ.มุ่ง
เติมเงินให้ปชช.ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าจำเป็น เน้นสร้างความยั่งยืนศก.
นักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ของยูเครน โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่รัสเซียสนับสนุนได้ส่งพลเรือนเดินทางออกจาก
ภูมิภาคในฝั่งตะวันออกของยูเครนซึ่งมีการสู้รบกันเพื่อลี้ภัยไปยังรัสเซีย ซึ่งเป็นอีกสถานการณ์หนึ่งในความขัดแย้งที่ชาติตะวันตกเชื่อว่ารัสเซีย
วางแผนที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการบุกโจมตียูเครน ขณะที่รัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่าชาติตะวันตกว่าพยายามสร้างความ
หวาดกลัว
กรรมาธิการฝ่ายกิจการภายในของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยในการประชุมด้านความมั่นคงที่มิวนิกในวันศุกร์ (18 ก.
พ.) ว่า EU เปิดรับคริปโทเคอร์เรนซี อาทิ บิตคอยน์หรือยูโรดิจิทัล แต่จะต้องเสริมความแข็งแกร่งด้านกฎระเบียบเป็นอันดับแรก เพื่อ
ป้องกันการฉ้อโกง
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ทำเนียบเครมลินได้ยืนยันว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย และ
ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส จะหารือกันทางโทรศัพท์ในวันอาทิตย์นี้ (20 ก.พ.) ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น
เกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน
ตลาดยังคงถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค.
โดยนายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กเปิดเผยว่า เป็นการเหมาะสมที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงต่อสภาคองเกรสในวันที่ 2-3 มี.ค.นี้ ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงความเห็นต่อ
สาธารณะของเขาเป็นครั้งสุดท้ายที่เกี่ยวกับนโยบายการเงิน ก่อนที่เฟดจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุด
ในรอบหลายสิบปี
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเปิดเผยในวันศุกร์ (18 ก.พ.) ว่า สหรัฐจะขยายการบังคับใช้มาตรการฉุกเฉินทั่วประเทศต่อไป
จากวันที่ 1 มี.ค.นี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 ยังคงเป็นความเสี่ยงด้านสาธารณสุข
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคง
ทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้/การใช้จ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Indices

เดือนม.ค. ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/64 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์